// css // javascript

Bangkok Recorder - April, 1845


๏ หนังสือ จดหมาย เหตุ ๚ BANGKOK RECORDER

Vol 1. เล่ม ๑. บังกอก เดือน สิ่ ปี มโรง จุลศักราช ๑๒๐๖. APRIL, 1845. คริศศักราช ๑๘๔๕. ใบ ๑๐ No. 10.

Commerce of Singapore for 1845– 4.

จะ ว่า ดว้ย สิน ค้า ใน เมือง ซิงกะโประ.

อนึ่ง มี หนังสือ ข่าว ตีภิม ใน เมือง ซิงกะโประ. ตีภิมเดือน ๑๒ แรม ๔ ค่ำ. ใน หนังสือ นั้น บอก ว่า คว้ย ราคา ลิน ค้า ต่าง ๆ ซึ่ง เอา ไป จาก เมือง ซิงกะโประ ไป ทุก ประเทษ ก็ ดี, แล บอก ซึ่ง สินค้า ต่าง ๆ ที่ เอา ไป แต่ ทุก ประเทษ ไป เมือง ซิงกะโประ ก็ ดี, นับ แต่ ปี เถาะ เดือน ๖ ขึ้น ๓ ค่ำ ไป จน ถึง ปี มโรง เดือน ๖ ขึ้น ๑๔ ค่ำ. เรา จะ แปล ออก มา จาก หนังสือ นั้น ศัก ๔ ข้อ, ว่า ดว้ย เกาะ ชะวา คือ เมือง กลาป๋า, ว่า ดว้ย เมือง ยวน, ว่าดว้ย เมือง จีน, แล ว่า ดว้ย เมือง ไท. ที่ ว่า ดว้ย เกาะ ชะวา นั้น, คือ ว่า สิน ค้า ที เอา มา แต่ เกาะ ชะวา นั้น, มี ราคา ล้าน เก้า แสน เก้า พัม สาม วอ้ย สี่ สิบ สอง รูเปีย. แล สิน ค้า ที่ เอา ไป แต่ ซิงกะโประ ไป เกาะ ชะวา นั้น, มี ราคา ล้าน หมื่น สอง พัน เจ๊ด รอ้ย เจ๊ด สิบ เอด รูเปีย. อนึ่ง สิน ค้า ต่าง ๆ ที่ เอา มา แต่ เมือง ยวน ไป ฃาย ใน เมือง ซิงกะโประ นั้น, ราคา สาม แสน เก้า หมื่น แปด พัน เจ๊ด วอ้ย แปด สิบ เจ๊ด รูเปีย. แล สิน ค้า ที่ เอา ไป จาก เมือง ซิงกะโประ ไป ฃาย ใน เมือง ยวน, ราคา ห้า แสน หมื่น หก พัน สาม รอ้ย สี่ สิบ สี รูเปีย. แล สิน ค้า ที่ เอา มา แต่ เมือง ยวน ไป ฃาย ใน เมือง ซิงกะโประ, ใน ปี เถาะ นั้น นอ้ย กว่า ใน ปี ขาน มาก, ศัก แสน เจ๊ด หมื่น สาม พัน รูเปีย, ดว้ย เหตุ ว่า น้ำ ตาน ทราย ที่ ยวน เอา ไป ฃาย ใน เมือง ซิงกะโประ ใน ปี ฃาน นั้น ก็ ถึง สอง หมื่น เจ๊ด พัน ห้า รอ้ย สี่ สิบ หาบ, แต่ ใน ปี เถาะ นั้น มี แต่ แปด พัน สาม รอ้ย สาม สิบ หก หาบ.

อนึ่ง สิน ค้า ที่ เอา ไป จาก เมือง ไท ไป ขาย ใน เมือง ซิงกะโประ ใน ปี เถาะ นั้น, ราคา ห้า แสน หมื่น ห้า พัน เจ๊ด รอ้ย แปด สิบ รู เปีย, เปน นอ้ย กว่า ใน ปี ฃาน ศัก หก หมื่น แปด พัน รูเปีย. แล สิน ค้า ต่าง ๆ ที่ เอา มา แต่ เมื่อง ซิงกะโประ มา ฃาย ใน เมือง ไท ใน ปี เถาะ, ราคา หก แสน แปด หมื่น หก พัน รอ้ย หก สิบ รูเปีย. แล น้ำ ตาน ทราย ที่ เอา ไป แต่ เมือง ไห เอา ไป ฃาย ใน เมือง ซิงกะโประ ใน ปี เถาะ นั้น, คือ สอง หมื่น เจ๊ด พัน เจ๊ด รอ้ย เจ๊ด สับ เอด หาบ, เปน มาถ กวา ใน ปี ฃาน ศัก นอ่ย หนึ่ง. อนึ่ง สิน ค้า ต่าง ๆ ที่ เอา มา แต่ เมือง จีน มา ฃาย ใน เมือง ซิงกะโประ ใน ปี เถาะ นั้น, ราคา สี่ ล้าน หก แสน ห้ ห้ พันเก้า สิบ เกร ท รูเบี้ย, เทก กว่ายี้ จาน' แสน แปด หมื่น ห้า พัน รูเปีย. แล ลิน คัา ต่าง ๆ ที่ เอา มา แต่ ซิงกะโประ ไป ฃาย ใน เมือง จีน ใน ปี เถาะ นั้น, ราคา เจ๊ด ล้าน สาม แสน หมื่น พัน สาม รอ้ย แปด สิบ รูเปีย. อนึ่ง กำปั่น ที่ เอา สิน ค้า เซ้า ไป ฃาย ใน เมือง ซิง กะโประ ใน ปี เภาะ นั้น, คือ เจ๊ด รอ้ย เก้า สิบ เอด ลำ, แล สำเภา แล เรือ อื่น ๆ มี สอง พัน ห้า รอ้ย เจ๊ด สิบ เอด ลำ. แล กำปั่น ที่ เอา สิน ค้า ไป แต่ เมือง ซึงกะโประ ไป เมือง อื่น ๆ ใน ปี เถาะ นั้น, คือ เจ๊ด รอ้ย แปด สิบ สวม ลำ, แล สำเภา แล เรือ อื่น ๆ คือ สอง พัน แปด รอ้ย เก้า สิบ ลำ.

Iomprovements in making Sugar.

ที่ นี้ จะ ว่า คว้ย ตำรา ทำ น้ำ ตาน ทราย. ว่า ยัง มื คน ๆ หนึ่ง อยู่ ใน เมือง อังกฤษ, ได้ แต่ง หนังสือ ดำรา ทำ น้ำ ตาน ทราย, แต่ง ไว้ ใน ปี กลาย นี้, บอก ให้ รู้ ว่า จะ ทำ อย่าง ไร จึ่ง จะ ได้ น้ำ ตาน ทราย มาก ขึ้น กว่า ทำ แต่ กอ่น. ใน ตำรา นั้น มี หลาย ขัอ, แต่ เรา จะ คัด เอา มา ว่า แต่ ขัอ เดียว, คือ ที่ ว่า ดว้ย หีบ ออ้ย นั้น. แล ผู้ ที่ แต่ง หนังสือ นิ้ เหน ว่า, คน ที่ หีบ ออ้ย ดว้ย ลูก หีบ นั้น, ห้า ออ้ย ยัง ไม่ หมด ไม่ สิ้น, ยัง ติด พวน ออ้ย อยู่ มาก. คน นั้น จึ่ง คิด ทํา เครื่อง อัด ออ้ย อย่าง หนึ่ง, อัด ได้ น้ำ มาก กว่า ที่ หีบ ดว้ย ลูก หีบ นั้น. แล เขา เอา ออ้ย หีบ ตาม ทำเนียม เก่า ได้ น้ำ ๒๑ ถั่ง, แล้ว ก็ เอา พวน ออ้ย ที่ หีบ แล้ว มา อัด ดว้ย เครื่อง อัด ที่ เขา ทำ นั้น, ก็ ได้ น้ำ ที่ พวน ออ้ย นั้น อีก ประมาณ ๒ ถัง กับ ๕ ทนาล, แล รศ น้ำ ดว้ย ที่ ออก มา จาก พวน ออ้ย ที่ อัด นั้น, หวาน กว่า รศ ออ้ย ที่ หีบ ดว้ย ลูก หีบ นั้น. จึง รู้ ว่า คน ที่ ไช้ เครื่อง อย่าง ใหม่ นั้น เหน จะ ได้ น้ำ ตาน ทราย มาถ กว่า คน ที่ ไช้ ดว้ย ลูก หีบ นั้น, คือ คน ที่ ไช้ ดว้ย ลูก หีบ นั้น ได้ น้ำ ตาน ทราย ๑๐๐ ซั่ง, แล คน ที่ ใช้ เครื่อง อัด ที่ ทำ ใหม่ นั้น จะ ได้ ศัก ๑๑๒ ชั่ง.

Railroads.

จะ ว่า ดว้ย ทาง รถ ไฟ. ใน เมือง อังกฤษ แล เมือง อเมริกา แล เมือง ฝรังเศศ แล เมือง อื่น ๆ อีก หลาย เมือง, เซา ทำ หน ทาง สา หรับ ที่ จะ ไช้ รถ ไฟ เดิน. หน ทาง นั้น ทำ เสมอ ไม่ ลุ่ม ไม่ ดอน, คือ เมื่อ ทำ นั้น เขา ทำ แผ่น ดิน ให้ เรียบ เสมอ ไป, ไม่ ลุ่ม ไม่ ดอน, กว้าง ขวาง ประมาณ ๙ ศอก ๑๐ ศอก. แล้ว เอา ไม้ แก่น หนา สี่ เหลี่ยม, ทำ ให้ เสมอ วาง ต่อ ๆ กัน ไป เปน สอง แถว, ตาม ที่ รถ กว้าง มาก นอ้ย ใน หน ทาง ที่ ปราบ เสมอ นั้น. แล้ว จึ่ง เอา เหลก หนา ศัก นิ้ว กึ้ง ๒ นิ้ว, กว้าง ศัก ๔ นิ้ว ๕ นิ้ว, แล กระทำ ให้ เปน สัน สูง อยู่ กลาง, สอง ข้าง นั้น เปน หน้า กระดาน เสมอ กัน. แล้ว จึ่ง เอา เหลอ นั้น วาง ลง บน ไม้, ต่อ ประสาน ศีตะ ให้ เสมอ กัน, แล้ว ตรึง เหลก ให้ ติด อยู่ กับ ไม้. ซึ่ง ทำ เหลกเปน สัน สูง นั้น คือ จะ ให้ กง รถ อม อยู่ ใน สัน สูง นัน, ไม่ ให้ กง รถ เดิน เคลื่อน คลาด ไป จาก ทิ่ ได้, ให้ รถ เดิน เสมอ ไป. ฝ่าย กง รถไฟ ทั้ง สอง ข้าง นั้น, เขา ก็ กระทํา ให้ เปน รู กลวง อยู่ กลาง, สําหรับ จะ ได้ อม ติด กับ เหลก สัน สูง ที่ วาง ใน หน ทาง นั้น, แล จะ ว่า ดว้ย รถ ให้ รู้, ว่า รถ นั้น เขา ทำ ไว้ เปน สอง อย่าง, อย่าง หนึ่ง ทำ ไว้ สำหรับ คน โดย สาร, อย่าง หนึ่ง ทำ ไว้ สำหรัย บันทุก ของ. รถ ที่ ทำ สำหรับ คน โดย สาร นั้น. ทํา เปน หอ้ง สำหรับ นั่ง นอน, ทำ ให้ สอาด ดี, แต่ รถ ที่ บันทุก ของ นั้น ไม่ มี หอ้ง, ทำ เปน แต่ ที่ บันทุก ของ. แต่ รถ สอง อย่าง นี้ ทำ ไว้ เปน อัน มาก หลาย รถ. แล รถไฟ นั้น มี แต่ รถ เดียว. รถไฟ นั้น คน มิ ได้ ขี่ มิ ได้ บันทุก ฃอง, ทำ สำหรับ จะ ได้ ลาก รถ ทั้ง ปวง. ถ้า แล มี คน โดย สาร มาก ก็ ดี นอ้น ก็ ดี, แล มี ของ บันทุก มาก ก็ นอ้ย ก็ ดี, ก็ บันทุก รถ หลาย เล่ม ตาม สมควร แก่ คน แล ของ นั้น. แล้ว ก็ เอา รถ ไฟ ไว้ ใน เปื้อง หน้า รถ ทั้ง ปวง, แล้ว รถ ทั้ง ปวง ก็ ผูก ต่อ ๆ, กัน ไป ให้ ติด กับ รถไฟ นั้น, แล้ว รถไฟ ก็ ชัก ลาก รถ ทั้ง ปวง ไป เรว นัก. ลาก ไป โมง ๑ ลว่ง ทาง ไป ได้ สอง โยชณ์ บ้าง, สอง โยชณ์ ครึ่ง บ้าง, สาม โยชณ์ ก็ มี บ้าง. แล ใน เมือง อังกฤษ นั้น มี ทาง รถไฟ ต่อ ๆ กัน ไป ไกล นัก กำหนด ๓๐ โยชณ์ ครึ่ง, ทาง ๓๐ โยซณ์ ครึ่ง นั้น ไกล นัก, ถ้า จะ คิด เปน ทาง ใน เมือง นี้, เหมือน กับ กรุง เทพ ไป เกือบ จะ ถึง เมือง เชียงใหม่. ถ้า รถ ไฟ จะ เดิน เดิน ๑๒ โมง ก็ ถึง. แล รถ ไฟ จะ ไป แต่ กรุง เทพ นี้ ถึง กรุง เก่า ไป สอง โมง ก็ ถึง. แล ใน เมือง อะเมริกา นั้น ก็ มี ทาง รถ ไฟ ไป จาก เมือง บัศตัน ไป ถึง เมือง บุฟะโล ไกล ๕๓ โยชณ์. ท่าง ๕๓ โยชณ์ นั้น ไกล เหมือน กับ กรุง เทพ เดิน ทาง บก ไป ถึง เมือง ไซร. แล หาง นั้น รถ ไฟ มัน เดิน วัน หนึ่ง คืน หนึ่ง ก็ ตลอด. แล ราคา ทํา หน ทาง นั้น สี้น ๗๘๕๔ หาบ.

Orthography of the word Coffee.

จะ ว่า ดว้ย เฃ้า แฟ. เรียก ว่า เข้า แฟ นั้น ไม่ ถูก, เรียก ว่า กา เฟ นั้น ถูก, เพราะ พิจารณา ดู ทั้ง ๔ ภาษา, คือ ภาษา ฝรัง เศศ ๑, ภาษา อิตาเลีย ๑, ภาษํา หิศบำเนีย ๑, ภาษา อังกฤษ ๑, ใน ภาษา ฝรัง เศ่ศ แล ภาษา อิตาเลีย ๒ ภาษา นี้ เรียก กัฟเฟ. ภาษา หิศปาเนื่ย เรียก ว่า กาเฟ, ภาษา อังกฤษ เรียก วา กอฟิ. ตอง เรียก ตาม ภาษา หิศปา เนีย เหน จะ ถูก, คว้ย คํา เรียก ว่า กัฟเฟ ๆ นั้น ผิด กับ ภาษา ไท, คว้ย ตัว ก กับตัว ฟ นั้น ไช้ สกด กัน ใน ภาษา ไท ไม้ เหน มี เลย.

Summary of News ข่าว ตาง ๆ.

๏ จะ ว่า คว้ย สำเภา ที่ มา แต่ เมือง จีน มา ค้า ฃาย ใน เม็อง ซิงกะ โประ ใน ปี ที่ ลว่ง ไป แล้ว สิบ ปี กอ่น ปี นี้. คือ ปี มะเมืย ๒๑ ลํา, ปี มะ แม ๑๗ ลำ, ปีวอก ๒๑ ลำ, ปี ระกา, ๓๖ ลำ, ปี จอ ๕๔ ลำ, ปี กุณ ๑๔๑ ลำ, ปี ชวด ๑๔๘ ลำ, ปีฉลู ๑๕๐, ลำ, ปี ซาน ๑๘๑ ลำ, ปี เถาะ ๓๖ ลำ. ๏ ปี มโรง เดือน สิบ, มี ข่าว มา ว่า ใน เมือง ๓ เมือง ซึ่ง เปน ประ เทษ จีน, คือ เมือง ซังไหย ๑, คือ เมือง อะมุย ๑, คือ เมือง นิงโป ๑, เมือง ๓ เมือง นี้ มี พ่อ ค้า ต่าง ประเทษ เข้า มา อาไศรย ค้า ฃาย อยู่ หลาย คน. แล เมือง ซังไทย นั้น มี อยู่ ๑๕ คน, เมือง อะมุย นั้น มี อยู่ ๕ คน, เมือง นิงโป นั้น มี อยู่ ๓ คน. ๏ ปี มโรง เดือน ๑๑ แรม ๑๐ ค่ำ, ข่าว ใน เมือง ฮงคง ว่า, มี กำปั่น ลำ หนึ่ง เข้า มา ถึง เมือง นั้น เดือน ๑๑ แรม ๓ ค่ำ. กำปั่น ลำ นั้น ได้ แล่น รอบ แผ่น ดิน โลกย์ ใน สิบ เดือน อย่อน สาม วัน. คือ แล่น ออก ไป จาก เมือง ฮงคง ปี เกาะ เดือน ญี แวม ๑๑ ค่ำ, แล่น ไป ข้าง ทิศ ตว้น ตก ถึง เมือง นุยอก เปน ประเทษ อเมริกา, ทาง ๓๕ วัน, ขิน สิน ค้า ที่ บันทุก มา แต่ เมือง ฮงคง นั้น ขึ้น หมด, แล้ว บัน ทุถ เอา สิน ค้า ใน เมือง นั้น ลง ใหม่, แล้ว แล่น ไป จาก เมือง นุยอก เดือน ๗ ขึ้น ๔ ค่ำ, แล่น ไป ข้าง ทิศ ใต้ ไป ถึง แหลม เฃ่า, แล้ว แล่น ไป ข้าง ทิศ ตวัน ตก เฉียง เหนือ, มา ถึง เมือง ฮงคง ปี มโมง เดือน ๑๑ แรม ๗ ค่ำ ดั่ง ว่า มา แล้ว. แล กำปั่น ลำ นั้น, เมื่อ แล่น ไป ทาง นั้น เมื่อ ครั้ง กอ่น นั้น, แล่น ไป กำหนด ๑๐ เดือน กับ วัน หนึ่ง. ๏ มี หนังสือ ข่าว ตีภิม ใน เมือง ซิงกะโประ, ตีภิม เดือน ๑๑ แรม ๑๒ ค่ำ. ผู้ แต่ง หนังสือ ข่าว นั้น ได้ ยิน ข่าว ว่า กระษัตร เมือง จีน เจบ มาก แล้ว, แล ว่า อีก ครั้ง หนึ่ง ว่า มี หนังสือ ฝาก มา ถึง เมือง กวาง ตุ้ง ว่า กระษัตร ตาย แล้ว, แล ว่า มี หนังสือ ฝาก มา อีก ฉบับ หนึ่ง มา แต่ เมือง มะกาว, ใน หนังสือ นั้น ว่า กระษัตร นั้น มอบ สมบัติ ให้ แก่ นอ้ง ขาย คน หนึ่ง. แต่ จะ จริง หฤๅ ไม่ จริง ยัง ไม่ รู้ แน่. ๏ เดือน ญี่ ข้าง ขึ้น, มี ข่าว มา แต่ เมือง มะกาว, ว่า มี นาย กำปั่น คน หนึ่ง ชื่อ ควา ตุรน เปน ขาติ หิศปาเนีย, เขา ได้ พบ เงิน ใน ที่ แก่ง หิน ใน ชเล จีน แห่ง หนึ่ง. ถ้า จะ คิศ เปน เงิน เหรียน ได้ ถึง ๑๕๐ ๐๐๐ เหรืยน, ถ้า จะ คิด เปน หาบ ก็ ได้ ถึ้ง ๖๒ หาบ ครึ่ง. แก่ง นั้น อยู่ ใน น้ำ ฦก ศัก ๗ ศอก. เงิน นั้น อยู่ ใน น้ำ นาน จน เงิน นั้น เปน คีเฃียว ไป, แล หีบ ที่ ใส่ นั้น ก็ ผุ ไป เสีย หมด แล้ว. เขา ก็ เข้า ใจ ว่า กำปั่น ไป แตก ที่ นั้น, แต่ ว่า จะ แตก เมื่อ ไร แล เปน กำปั่น ที่ ไหน, ก็ มิ ได้ รู้, เขา ยัง สืบ อยู่. ๏ เดือน อ้าย แรม ค่ำ หนึ่ง, มี ข่าว มา แต่ เมือง ฮงคง, ว่า ใน ชเล รอบ เมือง ฮงคง นั้น มี คน ปลัน มาก, เขา เที่ยว ปลั้น เรือ บัน ทุก ของ ยอ่ย ๆ. ๏ ปี เถาะ เดือน วัน ขึ้น แรม มิ ได้ กำหนด, มี ข่าว ว่า ใน เมือง เซ๊ล บี เปน ประเทษ อังกฦษ, ว่า เมื่อ ฝน ตก ใน เพลา วัน หนึ่ง ก็ บังเกิด มิ กบ ตก ลง มา ตาม ฝน เปน อัน มาก. กบ นั้น ตั ตัว โต เท่า ปลาย นิ้ว มือ, แล เมื่อ กบ เหน ปรากฎ ที่ แผ่น ดิน นั้น, ก็ มี คน สงไศรย ว่า กน นั้น จะ มา แต่ ที่ ไหน. จะ มา แต่ แผ่น ดิน หฤา, ๆ จะ มา แต่ บน อากาษ. แล้ว คน ที่ สงไสย นั้น ก็ เอา หมวก ยก หงาย ขิ้น คอย รับ กบ ที่ บน อากาษ, กบ นั้น ก็ พลัด ตก ลง มา ตาม ฝน เข้า ใน หมวก นั้น, จึ่ง รู้ ว่า กบ ตก ลง มา แต่ อากาษ. ๏ เดือน แปด แรม ๙ ค่ำ, มี ข่าว มา แต่ เมือง อังกฤษ ว่า กระษัตร อังกฤษ นั้น มี พระราชบุตร ชาย อีก คน หนึ่ง. แต่ กอ่น นั้น มี พระ ราชบุตร ชาย คน หนึ่ง, หญิง คน หนึ่ง, เดี๋ยว นี้ เปน ๓ คน ดว้ย กัน.

Causes of Intermittent Fever Continued.

ที่ นี่ จะ สำแดง ซึ่ง เหตุ ตาม ลักษณ์ ที่ ให้ บังเกิด ไข้ จับ สั้น แล ไฃ้ พิศม์ ไข้ ป่า ต่อ ไป. ซึ่ง คอย โนมีอัศ มา ที่ ให้ บังเกิด พิศม์ เปน ไข้ นั้น, เพลา กลาง วัน แสง แดด กลัง พิศม์ นั้น เบา, จึ่ง ฟุ้ง ขึ้น ไป บน อากาษ สูญ ไป สิ้น. ครั้น เพลา พระอาทิตย์ ตก, พิศม์ ซึ่ง ยัง บังเกิด มี อยู่ ที่ ดิน นั้น, ค้าง อยู่ เหนือ แผ่น ดิน. ไม่ ฟุ้ง ขึ้น ไป ใน อากาษ, เพราะ เหตุ ว่า พิศม์ นั้น หนัก อยู่. เปรียบ เหมือน หมอก อัน บังเกิด เมื่อ ระดู หนาว, ครั้น เพลา เข้า หมอก นั้น ปลิว กลุ้ม อยู่ เหนือ แผ่น ดิน ต่ำ ๆ, ครั้น เพลา ตวัน เที่ยง แดด กล้า แล้ว หมอก ก็ ปลิว ขึ้น ไป บน อากาษ สูญ หาย ไป สิ้น ฉัน ใด ก็ ดี, พิศม์ แห่ง คอย โนมีอัศมา, ก็ เปรียย เหมือน ดั่ง นั้น. ถ้า ผู้ ได ไป อาใศรย อยู่ ที่ นั้น เพลา กลาง วัน, ก็ มี ได้ ปว่ย ไข้ ประการ ใด. ถ้า ไป อาไศรย ใน เพลา กลาง คืน แล้ว, พิศม์ แห่ง คอย โนมีอัศมา, ก็ ฟุ้ง ขึ้น แล้ว เข้า ไป ตาม ลม หาย ใจ เข้า ออก, แล ทราบ เข้า ไป ใน กาย ตาม ผิวหนัง แห่ง คน ที่ อาไศรย นอน เหนือ แผ่นดิน นั้น, ครั้น ถิง กำหนฏ ๕ วัน บ้าง, ๗ วัน บ้าง, ๙ วัน บ้าง, คน ผู้ ตอ้ง พิศม์ คอย โนมิอัศ มา นั้น, ก็ ให้ ปว่ย เปน ไข้ มี อาการ ต่าง ๆ, ตาม ถูก ตอ้ง อาย พิศม์ มาก แล นอ้ย, ดั่ง เรา กล่าว แล้ว, ตาม จดหมาย เหตุ ใบ กอ่น นั้น. บาง ที่ พิศม์ คอย โนมีอัศ มา ฟุ้ง ขึ้น ระคน ติด อยู่ ใน หมอก, ๆ นั้น ปลิว ไป ค้าง อยู่ ที่ ภูเขา ก็ ดี, แล ที่ ใด ๆ ก็ ดี, ถ้า ผู้ ใด ถูก ตอ้ง หมอก นั้น ก็ มัก ให้ ปว่ย, เปน ไข้ มี ประเภท ต่าง ๆ เหมือน กัน. ถ้า ผู้ ได มี กิจ ธุระ ไป ที่ นั้น, จำ เปน จำ อยู่ แล้ว, ก็ ให้ ปลูก เปน ว่า ร้าน เรือน ขึ้น ให้ สูง ๆ พัน ดิน ขึ้น ไป แล้ว, , พิศม์ คอย โนมีอัศมา นั้น ฟุ้ง ขึ้น มิ ใค่ร จะ ถึง. ผู้ ที่ อาไศรย อยู่ นั้น, ก็ มิ ใค่ร จะ ปว่ย ไข้, เพราะ เหตุ ว่า ผู้ นั้น อยู่ สูง พ้น อาย พิศม์ นั้น ขึ้น ไป. อนึ่ง ผู้ ใด จำ เปน จำ ตอ้ง ไป อาไศรย อยู่ ป่า ดง อันรกชัด นัก, ลมพัด มิ ใค่ร สดวก อาย พิศม์ มิ ใค่ร จะ ไป ตาม ลม ได้, ก็ มัก ทำ ให้ ผู อาไศรย อยู่ ที่ นั้น ปว่ย เปน ไข้ มี อาการ ต่าง ๆ ตาม ถูก ตอ้ง อาย พิศม์ มาก แล นอ้ย. ให้ ผู้ ที่ ไป อาไศรย อยู่ นั้น ออก มา อยู่ ที่ แจ้ง ที่ ลม พัด สดวก จึ่ง จะ ดี.

จึ่ง มี คำ บุฉา ว้า, เหตุ ผล ประการ ได ทุก วัน นี้ จึ่ง บังเกิด ไข้ จับ สั่น มาก ชุก ชุม ขึ้น กว่า แต่ กอ่น. วิสัชนา ว่า, บังเบิด ไข้ จับ สั่น มาก นั้น, เพราะ เหตุ แห่ง พิคม์ คอย โนมีอัศมา บังเกิด ขึ้น มาก กว่า แต่ กอ่น. อนึ่ง ถ้า ผู้ ได เปน คน เคย เสพ สุรา, แล ยา ฝิ่น, เคย สูบ บู่หรี สูบ กัน ขา, แล สิง ของ เมา ทั้ง ปวง, แล กิน ของ ที่ มี รศ แสลง ต่าง ๆ อยู่ แต่ กอ่น แล้ว, ผู้ นั้น จึ่ง มี ธาตุ แล กำลัง เลื่อม ถอย นอ้ย ลง ไป, อาไศรย เหตุ ดั่ง นี้, อาย พิศม์ แห่ง คอย โนมิอัศมา, จึ่ง ทราบ เข้า ไป ใน กาย แห่ง ผู้ นั้น ง่าย เรว นัก, กว่า คน ที่ มี กำลัง มาก, จึ่ง ให้ บังเกิด เปน ไข้ จับ สัน มาก นัก.

บุจฉา วัน, เหตุ ใด จึ่ง บังเกิด อายพิศม์ คอย โนมีอัศมา มาก กว่า แต่ กอ่น เล่า. วิสัชนา ว่า, ดว้ย ข้าพเจ้า พิจารณา เหน ว่า จะ เปน นั้น, อาไศรย เหตุ ดว้ย แดด แล ฝน ก็ หา ตก ตอ้ง ตาม ระดู เหมือน อย่าง แต่ กอ่น ไม่. อนึ่ง ที่ ทุ่ง นา แล ป่า นั้น, ก็ รก ชัด มาก ขึ้น มี หญ้า ใบ ไม้ อัน เน่า สะลม อยู่, อนึ่ง พวก จีน เอา ปลา มา หมัก ไว้ ให้ เน่า มี กลิ่น เหมน ยิ่ง นัก, อนึ่ง ที่ บ้าน แล ตรอก ถนน หน ทาง ตะลาด นั้น, ก็ เปื้อน เปรอะ โสโครก ยิ่ง นัก. อนึ่ง คลอง บาง เลก นอ้ย, ก็ ตื้น ขึ้น มาก กว่า แต่ กอ่น, เพราะ เหตุ ดว้ย ที่ ทั้ง ปวง ที่ มิ ได้ ลอาด นั้น, จึ่ง ให้ บังเกิด เปน อาย พิศม์ คอย โนมีอัศมา มาก ขึ้น กว่า แต่ กอ่น, จึ่ง บังเกิด เปน ไข้ จับ ลั่น ชุก ชุม ยิง นัก. ข้าพเจ้า พิจารณา เหน ว่า ลักษณ์ ไข้ จับ จับ สั่น ที่ เมื่อง นอก จะ บังเกิด วัน นั้น, ก็ อาไศรย เหตุ ด้วย สิ่ง ของ ที่ โส้โครก, แล ที่ ไม่ สอาด เปน ต้น. อนึ่ง ถ้า มิ กฎ ประกาษ ให้ ราษฎร ชาว เมื่อง กวาด ตาม ใต้ ถุน อัน โลโศรก ที่ บ้าน ของ ตัว นั้น ให้ ลอาด, อย่า ให้ ลามก ได้, ถึง เจ๊ด วัน กวาด ครั้ง หนึ่ง ๆ, ตาม ทำเนียม เมือง นอก, แล้ว ให้ ๆ ชำระ ขุด ที่ ลำคลอง แล ตู ที่ ตื้น ๆ นั้น ให้ ฦก มี น้ำ ขัง อยู่ ดู สอาด, ก็ เหน ว่า จะ เปน ประ โยชณ์ มี คุณ แก่ ราษฏง เปน อัน มาก. ไข้ จับ สั่น แลไข้ พิศม์ ก็ จะ คอ่ย เสื่อม ถอย เบา บาง ลง ทุก ปี ๆ, เพราะ เหตุ ว่า สิ่ง ของ โล โครก นั้น หา มี ไม่, พิศม์ แห่ง คอย โนมิอัศมา ก็ จะ มิ ใค่ร บังเกิด.

บุจฉา ว่า, เหตุ ผล เปน ดั่ง ฤา, พิศม์ แห่ง คอย โนมีอัศมา นั้น มี อยู่ แล้ว, จึ่ง มี ได้ ทำ ให้ คัน ปว่ย ไข้ ทุก คน เล่า. วิสัชนา ว่า, คน ทั้ง ปวง มี ธาตุ หา เหมือน กัน ไม่. บาง คน มี ธาตุ บวิบูรรณ์ เปน ปรกติ อยู่. บาง คน มี ธาตุ ออ่น อย่อน เบ่า ลง หา บริบุรรณ์ เปน ปรกติ ไม่. เหตุ ดั่ง นั้น, คน ที่ มี ธาตุ ออ่น อย่อน เบา ลง นั้น, พิศม์ แห่ง คอย โนมีอัศมา, จึ่ง แล่น เข้า ไป ใน กาย ติด ผู้ นั้น ง่าย เรว นัก. อนึ่ง คน ที่ มี กำลัง มาก, ธาตุ บวิบูรรณ์ เปน ปรกติ อยู่ แล้ว, พิศม์ แห่ง คอย โนมิอัศมา มิ ใค่ร จะ ติด ได้. เปรียบ เหมือน สิ่ง. ของ แห้ง ทั้ง ปวง มี ไม้ เปน ตัน, ถ้า ไม้ แล สิ่ง ของ ทั้ง ปวง นั้น แห้งโสก อยู่ แล้ว เมื่อ ถูก ไฟ ก็ ติด ง่าย เรว นัก. ถ้า ไม้ สด เปียก ชุ่ม ไป ดว้ย น้ำ แล้ว, ก็ หา ใค่ร จะ ติด ไฟ ไม่, ฉัน ใด ก็ ดี, คน ที่ มี กำลัง มาก แล นอ้ย ธาตุ ออ่น แล กล้า, ก็ มี อุประไมย เหมือน ดั่ง นั้น. อนึ่ง ลักษณ์ คน จะ มี ธาตุ ไม่ ปรกติ บวิบูรรณ์ นั้น, ก็ เพราะ เหตุ กระทำ การ ชั่ว ต่าง ๆ, มี คบ ดว้ย หญิง คน ชั่ว เปน ตัน, แล เสพ ซึ่ง ของ เมา ทั้ง ปวง, มี สุรา เปน ตัน, แล บริโภค ของ แส่ ลง ต่าง ๆ ดั่ง กล่าว มา แล้ว นัน.

ข้าพเจ้า หมอ บรัดเล พิจารณา ดู ตาม อย่าง ทำเนียม ตำรา ที่ มี อยุ่ ณ เมือง อเมวิกา, จะ ควร หฤา มิ ควร ประการ ได, ขอ เชิญ ท่าน ทั้ง หลาย พิจารณา ดู เถิด.

Resuscitation from a Stroke of Lightning.

ลำดัพ นี้ จะ ว่า, ดว้ย คน ที่ ตอ้ง อัศุนีบาต คือ ถูก สาย ฟ้า ผ่า นั้น โดย สัง เขป, ถ้า คน ถูก ใหม่ ๆ, สลบ ไป เหมือน ตาย แล้ว ก็ ดี, บาง คน ก็ รักษา รอด ได้ บ้าง, เมื่อ แพทย์ จะ รักษา หัน, ให้ เขา คน ผู้ ตอ้ง ถูก สาย ฟ้า นั้น, ให้ นอน อยู่ ที่ กลาง แจ้ง. เมื่อ นอน นั้น ยก ศีศะ แล ไหล ทั้ง สอง ขึ้น วาง บน หมอน ให้ สูง นอ่ย หนึ่ง แล้ว, จึ่ง ให้ เอา น้ำ ที่ เอย๊น นัก ประมาณ ศัก ถัง หนึ่ง, แล้ว รด ให้ สูง ๆ ตั้ง แต่ ศีศะ ลง ไป ให้ หั่ว ทั้ง กาย แล้ว, ถ้า คน ไข้ สดุ้ง ขึ้น มา ได้, ก็ พึง เข้า ใจ เถิด ว่า รักษา ได้. แล้ว ให้ เอา น้ำ เอย๊น เหมือน น้ำ หว้ย เท รด ซั้ว ลง เปน คราว ๆ, ให้ หลาย ครั้ง, จน คน ไข้ หาย ใจ เข้า ออก ได้. ณั ยัง ไม่ หายใจ, ก็ ให้ เอา มือ ปิด จมูก, คน ไข้ ไว้ แล้ว ให้ คน หนึ่ง เป่า ลม เข้า ไป ตาม ช่อง ปาก, ให้ ลม แล่น เข้า ไป ถึง ปอด แล้ว, เอา มือ ทั้ง สอง ประคอง กด เข้า ที่ ชาย โครง หั้ง สอง ข้าง, แล้ว กค ที่ ทอ้ง นอ้ย ดัน ลม ขึ้น ไป คว้ย, แล ลม ซึ้ง เป่า เข้า ไป นั้น ก็ จะ กลับ ออก มา. แล้ว ให้' เป่า ซ้ำ เข้า ไป ดั่ง กล่าว มา นั้น, ให้ หลาย ครั้ง หลาย หน, คน ไข้ นั้น ก็ จะ กลับ ฟืน หายใจ เข้า ออก ได้ บ้าง, เมื่อ คน ไข้ ฟืน แล้ว, เอา ผ้า เช้ต ตัว เสีย ให้ แห้ง แล้ว, จึ่ง เอา น้ำ อหงุ่น คัก สาม ชอ้น ใหญ่, เอา น้ำ ท่า ศัก สิบ ชอ้น, ตั้ง ไฟ ให้ อู่น ๆ แล้ว, ให้ กิน ประมาณ คัก ชอ้น หนึ่ง, ๑๐ นา ที กิน ชอ้น หนึ่ง ๆ, ภอ หมด น้ำ อหงุ่น นั้น, ให้ อยุด เสีย ถ้า ให้ กิน เกิน กำหนด ไป แล้ว มัก เปน อัน ตราย ต่าง ๆ. ถ้า หา มี น้ำ อหงุ่น ไม่, ก็ ให้ เอา สุรา ที่ ไม่ สู่ เค่ม นัก ก็ ได้, ให้ กิน ภอ สมควร แก่ กำลัง หาย แล.