// css // javascript

Bangkok Recorder - January, 1845


๏ หนังสือ จดหมาย เหตุ ๚ BANGKOK RECORDER

VOL. 1. เล่ม ๑. บังกอก เดือน อ้าย ปี มโรง จุลศักราช ๑๒๐๖. JANUARY, 1845. ควิศศักราช ๑๘๔๕. ไบ ๗. No. 7.

Chemistry, No 2. Oxygen.

ใน เดืยน กอ่น นั้น เรา ได้ ว่า ดว้ย อกซุเชน เปน ตำรา เคมิซะตรี, ได้ ว่า ๆ สม อากาษ นั้น มิ ได้ เปน สิ่ง เดียว เปน สอง สิ่ง, คือ อกซุเชน สิ่ง หนึ่ง, นิตโรเชน สิ่ง หนึ่ง. ว่า เปน อกซุเชน นั้น ๒๐ ส่วน, ว่า เปน นิต โรเชน ๘๐ ล่วน. เรา ได้ บอก ว่า ทํา อย่าง ไร จึ่ง จะ ให้ อกซุเชน แยก จาก สิ่ง อื่น, ให้ ออก เหน ปรากฏ ได้. เดี๋ยว นี้ จะ ว่า ต่อ ไป ่า ดว้ย อกซุเชน นั้น. ประการ หนึ่ง อกซุเชน นั้น เปน ที่ จะ ยัง ไฟ ให้ ติด. ถ้า แม้น เครื่อง ไฟ ถ้า ปราศ จาก อกซุเชน แล้ว ไฟ ก็ ไม่ ลุก เลย, ถ้า อยาก จะ รู้ ใน ข้อ นิ้ ว่า จะ จริง หฤา ไม่ จริ่ง, ก็ จง กระทํา ลม อากาษ ให้ อกซุเชน กับ นิตโรเชน ให้ แยก ออก ต่าง กัน ใส่ ไร้ คน ละ ขวด. แล้ว จึ่ง เอา ไฟ จุด เทียน ใส่ ลง ใน ขวก นิตโรเชน, เทียน ที่ ติด ไฟ นั้น ก็ จะ ดับ ใน พริบ ดาเดียว. แล้ว เอา เหียน ที่ ไม่ มี เปลว แต่ มี ไฟ ยัง ติด อยู่ ที่ ไส้ เทียน นั้น ใส่ ลง ใน ข่ว ตอกซูเซน, เที่ยน นั้น ก๊จะ ะ ลุก เป่น เปลว โต ใหญ่ ขึ้น เอง. ใช่ แต่ เท่า นั้น, ถ้า จะ เอา สวด เหลก แล เทียน เลก ๆ ติด ไฟ ติด ไว้ ที่ ปลาย ลวค เหลก, แล เอา ลวด นั้น ใส่ ลง ใน ขวด อกซุเชน, ไฟ ไหม้ เที่ยน นั้น หมด แล้ว, ไฟ ก็ จะ ไหม้ ติด ลวด เหลก นั้น ดว้ย. อนึ่ง คน ทั้ง ปวง ก็ รู้ ว่า ถ้า จะ พัก ไฟ ๆ ก็ จะ ลุก ขื้น เรว, แต่ เหตุ ที่ ไฟ ลุก ขึ้น นั้น เขา ก็ มิ ได้ รู้. เหตุ นั้น คือ อย่าง ไร. คือ อย่าง นี้, คือ ว่า เมื่อ พัด ไฟ นั้น ลม มัน เข้า เรว กว่า กอ่น, แล อกซุเชน ที่ อยู่ ใน ลม นั้น ได้ เข้า ถูก เครื่อง ไฟ นั้น มาก ขึ้น, จึ่ง กระทำ ให้ ไฟ นั้น ลุก ได้. ถ้า จะ เอา ลม ที่ ไม่ มี อกซุเชน พัด เข้า ที่ ไฟ นั้น, ไฟ ก็ ไม่ ลุก เลย, ถึง จะ พัด ไป ยัง ค่ำ ไฟ ก็ มิ ได้ ลุก. หนึ่ง ถ้า จะ เอา เทียน ติด ไฟ แล้ว ขั่ง ไว้ ใน หีบ ที่ ลม เข้า มิ ได้, แล้ว เทียน มัน ก็ จะ ไหม้ เลีย กว่า อกซุเชน นั้น จะ หมด, อกซุเชน หมด เมื่อ ไร เทียน ก็ จะ ดับ เมื่อ นั้น. ประการ หนึ่ง อกซุเชน นั้น เปน ที่ จะ เลี้ยง ชีวิตร สัตว. สัตว ทั้ง ปวง นั้น, ล้า ไม่ มี อกซุเชน อยู่ ใน ลม หายใจ เข้า ออก แล้ว มัน ก็ จะ ตาย เรว. ถ้า จะ เอา สัตว เลก ๆ มี หนู แล นก เปน ต้น ใส่ ลง ใน ขวด แล ปีด ปาก ขวด ให้ มิด, มัน จะ หายจ อยู่ ได้ ก กว่า อกซุเชน นั้น จะ หมด. อกซุเชน หมด เมื่อ ใด มัน ก็ จะ ตาย เมื่อ นั้น. แต่ หาก ว่า ถ้า จะ ใส่ สัตว นั้น ไว้ ใน ขวด ที่ มี อกซุเชน สิ่ง เดียว สัตว นั้น ก็ จะ มี ชีวิตร นาน อยู่ ศัก สาม เท่า. มี คำ บุจฉา ว่า เปน เหตุ อย่าง ไร ที่ อกซุเชน นั้น จะ เลี้ยง ชีวิตร สัตว ไว้ ได้. วิสัชน ว่า อก ซุเชน นั้น เปน ที่ ชำระ โลหิต ให้ สอาด ดี. แรกเติม โลติต ที่ ฉีด ออก จาก หวัวใจ นั้น มัน ก็ เปน ศี แดง สอาค บริสุทธ์, แต่ เมื่อ มัน จะ กลับ เข้า มา หา หวัวใจ อีก นั้น มัน ก็ ดำ ไป, ไม่ บริสุทธ์ เหมือน แต่ กอ่น. โลหิต ดำ นั้น มัน เข้า ไป ใน ปอด พบ กับ ลม อากาษ ที่ หายใจ เข้า นั้น, แล้ว อกซุเชน ทื่ อยู่ ใน ลม นั้น ก็ จะ เข้า ติด กับ เลือด ดำ นั้น, ให้ กลับ เปน ศี แดง. แล เมื่อ หายใจ ออก นั้น นิตโรเชน ได้ หอบ เอา ฃอง ที่ ไม่ สยาด ออก กิ้ง ไว้ ข้าง นอก นั้น. เรา ดั่ง นี้ เปน แน่ ดว้ย เหตุ อัน ใด. ก็ รู้ ว่า ดว้ย มี คน หลาย คน ได้ เอา เลือด คำ ใส่ ลง ใน ฃวด ที่ มี อกซุเชน สิ่ง เดียว นั้น, แล้ว สั่น ให้ อกซุเชน กับ เลือด นั้น ปน กัน เข้า, ศัก ครู่ หนึ่ง เลือด ดำ นั้น ก็ จะ กลับ เปน ศี แดง งาม บริสุทธ์, จึ่ง รู้ ว่า อกซุเชน นั้น เปน ที่ จะ ล้างโลหิต ไห้ เปน ดี.

The Christian Scriptures.

จะ ว่า ดว้ย หนังสือ ที่ พวก ศิษ พระเยซู นับ ถือ ว่า เปน หนังสือ มา แต่ พระเจ้า, ศีริหมด ดว้ย กัน เปน หนังสือ ถึง ๖๖ เล่ม ดว้ย กัน. แต่ ว่า หนังสือ ๖๖ เล่ม นั้น ว่า มา ตั้ง แต่ หนังสือ ที่ เขียน กอ่น พระเยซุ บังเกิด บ้าง, เขียน เมื่อ พระเยซู มา เกิด แล้ว บ้าง, จึ่ง เปน หนังสือ ๖๖ เล่ม ดว้ย กัน. หนังสือ เมื่อ เฃียน กอ่น พระเยซู เกิด นั้น นับ ได้ ๓๙ เล้ม, หนังสือ เขียน เมื่อ พระเยซู เกิด แล้ว นั้น นับ หนังสือ ได้ ถึง ๒๗ เล่ม, ประสม หนังสือ เซ้า ดว้ย กัน ทั้ง เฃียน กอ่น เฃียน หลัง นั้น, จึ่ง เปน หน้ง สือ ๖๖ เล่ม ดว้ย กัน. แต่ ว่า หนังสือ ๓๙ เล่ม ที่ เฃียน กอ่น พระ เยซู มา เกิด นั้น, เขา เฃียน เปน ภาษา เฮบราย. หนังสือ ที่ เขา เฃียน เมื่อ พระเยซู มา เกิด แล้ว เขา เฃียน เปน ภาษา เฮเลน. เดิ๋ยว นี้ เรา จะ พรรณา ว่า ดว้ย คน ที่ เฃียน หนังสือ ๓๙ เล่ม ที่ เฃียน กอ่น พระเยซู มา เกิด, เฃียน เปน ภาษา เฮปราย นัน. คือ โมเซ คน ๑ , โมเซ นั้น ได้ เฃียน หนังสือ ๕ เล่ม ใน เบื้อง ตัน. คือ ยโฮซูอา คน ๑, ยโฮซูอา นั้น เฃียน ต่อ โมเฃ ลง มา เฃียน หนังสือ ได้ เล่ม หนึ่ง. คือ ซมูเอล คน ๑, ซมูเอล นั้น ต่อ ยโชซูอา ลง มา เฃียน หนังสือ ได้ ๔ เล่ม. คือ เอศราคน ๑ , เอศรา นั้น เฃียน ต่อ ซมูเอล ลง มา เขียน หนังสือ ได้ ๕ เล่ม. ต่อ เอศรา ลง มา นั้น มี คน เปน อัน มาก ประมาณ ศัก ๒๐ คน, คน เหล่า นั้น เขา ได้ เฃียน หนังสือ มาก บ้าง นอัย บ้าง, เฃียน หนัง ต่อ ๆ กัน ลง มา จน หนังสือ ครบ ถึง ๓๙ เล่ม. ตัง แต่ เฃียน หนังสือ ๓๙ เล่ม นั้น แล้ว ลว่ง ไป ได้ ถึง ๓๙๗ ปี พระเยซู จึ่ง มา บังเกิด ใน โลกย์ นี้, แล เมื่อ กอ่น พระเยซู บัง เกิด ใน โลกย์ นี้ นับ ถอย หลัง เข้า ไป ได้ ๒๘๒ ปี นั้น, มี พระมหา กระษัตร องค์ หนึ่ง พาน สมบัติ ใน เมือง อาย ฆุบโต, มี พระราช อังการ รับ สั่ง ให้ แปล หนังสือ ๓๙ เล่ม ที่ เฃียน กอ่น พระเยซู บังเกิด ที่ เปน ภาษา เฮบราย นั้น, ให้ แปล เปน ภาษา เฮเลน. นี่ แล พวก ลูก ศิษ พระ เยซู จึ่ง นับ ถือ หนังสือ ๖๖ เล่ม นั้น ว่า ถูก ตอ้ง หมด มิ ได้ มี ผิด เลย. คือ เหน ว่า หนังสื่อ ที่ เปน เรื่อง พงษาวะดาน บ้าง, ที่ เปน หนังสือ คำ สวด บ้าง, ที่ เปน หนังสือ คำ ทำ นาย บ้าง, หนังสือ คำ เหล่า นี้ ถูก ตอ้ง หมด มิ ได้ มี ผิด เลย. พวก ศึษ พระเยซู ได้ ถือ อย่าง นี้, คือ ถือ ว่า พระวิญาณ พระเจ้า เข้า ดนใจ ให้ คน ทั้ง ปวง ที่ เฃียน หนังสือ ๖๖ เล่ม นั้น, ให้ เขา เฃียน ถูก ตาม ที่ จริง, มิ ได้ มี ผิด เลย.

A Fable. The Dog and Piece of Flesh.

คํา เปรี่ยบ ข้อ หนึ่ง.

ณะ กาล ครั้ง หนึ่ง สุนักข์ ตัว หนึ่ง คาบ ทอ่น เนื้อ จะ ข้าม แม่น้ำ ไป, ก็ แล เหน เงา ฃอง ตัว สำคัญ ว่า สุนักข์ ตัว อื่น คาบ เนื้อ ไป เหนือน กัน. ตัว เดิม นั้น เหน แล้ว อยาก ได้, อด ไม่ ทล, จึ่ง อ้า ปาก จะ ชิง เอา เนื้อ จาก ปาก สุนักข์ อื่น, ครั้น อ้า ปาก แล้ว, เนื้อ ที่ คาบ ไป ฉั้น ตก จม เสีย ก็ สูญ หาย ฉิบ.

A Fable. The Fox and the Grapes.

คํา เปรี่ยบ ข้อ สอง.

สุนักข์ จิงจอก ภอใจ กิน ลูก อหงุ่น รักษ นัก. กาล วัน หนึ่ง สุนักข์ จิงจอก ตัว หนึ่ง เช้า ไป ใน สวน เหน พวง ลูก อหงุ่น เปน อัน มาก สุก งอม คี, แต่ ว่า แฃวน ไว้ สูง ๆ, ตู เปน หน้า กิน น้ำลาย ไหล. อ้าย จิงจอก โดดขึ้น จะ ชิง เอา, โดค ขึ้น สุด กําลัง เปน หลาย ที หลาย ครั้ง, จน คัว เหนื่อย นัก, จะ ชิง เอา ไม่ ได้. เหน เปน แน่ ว่า ไม่ ได้ แล้ว, ก็ ขัดใจ ว่า, โคร จะ เอา ให้ เอา ไป เถิด, เหน จะ เปรี้ยว นัก, ข้า ไม่ เอา และ.

Treaty Between China and the United States.

ข่าว เมือง จีน ว่า เดี๋ยว นี้ เจ้า เมือง จืน กับ เจ้า เมือง อเมริกา ทำ หนังสือ ไม้ตรี สัญา กัน ใหม่ เ่น ใจ ความ ว่า, เจ้า เมือง จีน นั้น ยอม ให้ พวก อเมริกา เข้า มา ค้า ขาย ใน ห้า หวัว เมือง นัน, คือ เมือง กว้าง ตุ้ง ๑, เมือง อะมุย ๑, เมือง ฟูเขา ๑, เมือง นิงโป ๑, เมือง ซังไหย ๑. ประการ หนึ่ง ทูต อเมรีกา ชื่อ กูซิง เมื่อ จะ กลับ ไป เมือง อเมริกา ก็ ไป ทาง เก่า, จะ แล่น ไป ข้าง ทิศ ตวัน ออก ข้าม มหาสมุท ปะซีฟิก, จะ ไป เยี่ยม เยียน เจ้าเมือง เมกซิโก, แล้ว จะ ไป ทาง บกบ้าง ทาง น้ำ บ้าง ไป จน ถึง เมือง อเมริกา.

Notice.

ข้า ผู้ แต่ง หนังสือ ข่าว นี้ ปราถนา จะ เดือน สติ ฃอง ท่าน ผู้ อ่าน, ว่า ใน เดิม นั้น ช้าพเจ้า ได้ ว่า ดว้ย ราคา ใน หนังลือ ข่าว นี้ ว่า ผู้ ที่ ซื้อ จะ ให้ เงิน แผ่น ที่ หนึ่ง ก็ ได้, แผ่น ที่ หก ก็ ได้, ตาม แต่ ใจ ท่าน ผู้ ซื้อ. เดี๋ยว นี้ ถึง ใบ ที่ เจค แล้ว. เชิญ ท่าน คิด ถึง ลัญา ราคา ที่ ว่า ไว ใน หนังสือ นั้น เถิด.

Circulation of the Blood. No. 3.

รูป ภาพ นี้ ก็ เฃียน ไว้ ให้ เหน ปรากฏ, ดว้ย ว่า จะ ลำแดง ซึ่ง โลหิต แดง ไหล, ออก จาก หวัวใจ ไป ทั่ว ทั้ง กาย, แล สำแดง ซึ่ง โลหิต ดำ อัน ไหล กลับ เข้า มา สู่ หวัวใจ ดั่ง เก่า. ตัว, ก, นั้น คือ หวัวใจ ตั้ง อยู่ ใน ทรวง อก มนุษ เปน ธรรมดา. หวัวใจ นั้น ตั้ง อยู่ ข้าง ทรา้ย. ปลาย หวัวใจ นั้น อยู่ ตรง ซี้ โครง ที่ หัา, นับ แต่ ซี่ โครง ช้าง บน ลง มา. เมื่อ หวัวใจ นั้น ดูด โลหิต เข้า ออก, ปลาย หวัวใจ นั้น, ก็ งอน ขึ้น ไป เชด สี กับ ซี่ โครง ไป มา. ถ้า แล คน จะ เอา มือ ตอ้ง เข้า ที่ ซี่ โครง ที่ หัา, แล สังเกด ดู ก็ รู้ ว่า เต้น ไป มา เหมื่อน กับ เทพจร, เต้น พรัอม กับ เทพจร. หวัวใจ นั้น มี พั้ง ผืด หุ้ม อยู่, แต่ ว่า หุ้ม อยู่ ไม่ ตึง นัก. หวัวใจ พั้ง ผืด นั้น เหมือน กับ ถุง ใส่ หวัวใจ ไว้. ถ้า ผู้ใค จะ ใค่ร รู้ แน่, ก็ ให้ พิจารณา ดู ซึ่ง หวัวใจ สัตว ต่าง ๆ, มี หวัวใจ วัว แล หมู เปน ต้น. หวัวใจ สัตว เหล่า นั้น, ก็ มี เครื่อง สูบ เข้า สูบ ออก สอง สํารับ. แล โลหิต เดิน ไป มา, แล มี พั้ง ผืด หุ้ม ห่อ อยู่ เหมือน มนุษ เหมือน กัน. ใน พั้ง มี น้ำ อย่าง หนึ่ง, ติด อยู่ กับ พั้ง ผืด สําหรับ ที่ จะ ให้ หรัวใจ นั้น, เดิน ไป มา ให้ คล่อง, ไม่ ให้ ผืด คับ กับ พั้ง ผืด นั้น.

/publications/bangkok_recorder_1844_1845/027.b.jpg

เส้น สอง เส้น ที่ ไม่ ขีด เปน ฟัน ปลา นั้น, เปน คลอง โลหิต แดง เดิน ออก จาก หวัวใจ ไป ทัว ทั้ง กาย. แล มี คลอง เลก ๆ แตก ออก ไป ทุก แห่ง. ที มี เส้น ขีต เปน ฟัน ปลา ไป นั้น คือ คลอง โลหิต ดำ กลับ มา แต่ ทั่ว กาย คืน เข้า ไป สุ่ หวัวใจ. เส้น โลหิต แดง ที่ ออก จาก หวัว ใจ นั้น, ก็ แดก เปน คลอง ไป ตาม ลําแขน ช้ง ฃวา แล ฅอ ฃวา คลยง หนึ่ง. แล แตก ออก ไป ตาม ลํา ฅอ ข้าง ทร้าย คลอง หนึ่ง. แล แตก ออก ไป ตาม ลำ แฃน ทร้าย คลอง หนึ่ง, แล้ว คลองโลหิต แดง นั้น, ก็ เลี้ยว ลง มา ตาม กระดูด สัน หลัง คลอง หนึ่ง.   ลง มา เกือบ จะ ถึง กัน กบ แล้ว, ก็ แยก   ออก   ไป เปน สอง คลอง, ๆ หนึ่ง ลง   ไป ตาม ฃา ช้าง ทร้าย, คลอง หนึ่ง, แยก ลง ไป ตาม ฃา   ฃวา คลอง หนึ่ง. แต่ ทว่า คลอง โลหิต ที่ เดิน ไป ตาม ฃา นั้น เดิน ฦก เดิน ไป ตาม ทอ้ง ฃา. แล รูป นี้ เรา จึ่ง เฃียน คลอง โลหิต นั้น ไม่ ได้, ดว้ย กระดูก ฃา นัน มัน บัง คลอง โลหิต อยู่.   คลอง โลหิต นัน เมื่อ ลง ไป ถึง ตัน ฃา แล้ว, ก็ แตก เปน สอง เส้น อยู่, ช้าง หน้า ฃา เส้น หนึ่ง หลัง ฃา เสัน หนึ่ง, เหมือน กัน ทั้ง ฃาท ร้าย ฃวา. คลอง ที่ หลัง ฃา นั้น, ครั้น ถึง ข้อ หวัว เฃ่า ช้าง หลัง, ก็ แตก ออก ไป เปน สอง คลอง, ๆ หนึ่ง ลง ไป ตาม หลัง แข้ง, คลอง หนึ่ง ออก มา ตาม หน้า แข้ง เช่น สำแดง ตาม รูป ภาพ ที่ เฃียน ไว้ นั้น. ตลอง   โลหิต แดง ที่ ขึ้น ไป ตาม ฅอ นั้น. ที่ รูป ราพ นั้น, สำแดง ไม่ ตลอด ได้, เพราะ กระดูก คาง บัง   อยู่.   ครั้น ถึง ตัน คาง, ก็ แตก ออก เปน สอง คลอง.   ๆ หนึ่ง เดิน ใน กระดูก, เดิน ขึ้น ไป ถึง ษมอง   ศีศะ.   กลอง หนึ่ง เติน ขึ้น ไป ตาม หนวก หู เดิน ไป ข้าง นอก ษมอง,   สำหรับ เลี้ยง เนื้อ หนัง กระดูก ข้าง นอก ศีศะ. คลอง โลหิต แดง ที่ ลง ไป ตาม ตัน แฃน นั้น, ครั้น ถึง ขัอ สอก แล้ว ก๊ แยก ออก ไป เปน สอง คลอง.   ๆ หนึ่ง ไป ตาม หวัว แม่ มือ, คลอง หนึ่ง ไป ตาม นิ้ว กอ้ย.   ที่ ไป   ข้าง หวัว แม่ มือ นั้น, เปน ที่ จับ เทพจร ปรากฎ อยู่ ตื้น, ที่   ไป ข้าง นิ้ว กอ้ย นั้น, ก็ ฦก, จับ เทพจร ไม่ ได้. คลองโลหิต   สอง คลอง นั้น ครั้น ถึง ฝ่า มือ แล้ว ก็ รวม กัน เข้า เปน คลอง เดียว กัน, แล้ว ก็ แตก   ออก ไป เปน   คลอง เลก นอ้ย ไป ตาม นิ้ว มือ ต่าง ๆ นั้น.   ที่ นี้ จะ ว่า ดว้ย คลอง โลหิต ดำ   ที่   สำแดง ใน รูป ภาพ นั้น ภอ ให้ เหน เลก นอ้ย, ดว้ย จะ   ให้ รู้ วิที เลือด นั้น.   ต้น เส้น โลหิต ดำ นั้น, บังเกิด ที่ ปลาย เส้น โลหิต แดง. เมื่อ   โลหิต แดง เลี้ยง เนื้อ หนัง แล กระดูก เปน ต้น, โลหิต แดง นั้น แบ่ง เปน ส่วน ไป ตาม ที่ แบ่ง แล้ว, ครั้น เหลือ อยู่ นั้น, ก็   กลับ เปน โลหิต ดำ, คืน ไป สู่ หวัวใจ ดั่ง เก่า, ไป ตาม ทาง อื่น, ไม่ ได้ ไป ตาม ที่ แรก มา นั้น.   ทาง ที่ กลับ ไป นั้น คือ คลอง โลหิต ดำ นัน.   คลอง โลหิต ดำ ทั้ง กาย นั้น ก็ เดิน มา รวม กัน เข้า ที่ หวัว ใจ   หอ้ง ข้าง ขวา, แล้ว ก็ ฉีด ไหล ออก จาก หอ้ง นั้น, แล้ว ก็ เข้า ไป ใน ปอด ทั้ง ทร้าย ฃวา, ถูก ลม ทายใจ เข้า, รับ เอา อกซุเช๊น ที่ อยู่ ใน ลม นั้น, โลหิค จึ่ง แดง ไป, เพราะ อกซุเช๊ย เข้า ดว้ย กัน.   ครั้น แดง ไป แล้ว, ก็ กลับ ไป สู่ หวัวใจ หอ้ง ข้าง ทร้าย. หอ้ง นั้น จึ่ง บีบ เข้า ให้ ไหล ออก ตาม คลอง โลหิต แดง เช่น ว่า มา แล้ว.

ถ้า ผู้ใด สงไสย ว่า, โลหิต ดำ จะ ไหล ขึ้น ไป จาก ตีน แล มือ เปน แน่ หฤา ไม่, ก็ ให้ เอา ผ้า มา ฉีด เปน เชือก ผูก รัด ที่ ต้น แฃน, ให้ ตึง, จึ่ง จะ เหน เส้น โลหิต ดำ ที่ อยู่ ล่าง นั้น เปล่ง โต ขึ้น, เพราะ เชือก นั้น กัน มิ ให้ โลหิต ดำ ไหล ขื้น ได้. ถ้า แล แก้ เชือก เสีย, เส้น โลหิต ดำ นั้น ก็ จะ ราบ เหมือน ดั่ง เก่า. ถ้า แล ผูก ตึง นัก, ก็ จะ กั้น โลหิต แดง เสีย ดว้ย, เทพจร ที่ มือ ก็ จะ อยุด ไม่ ปรากฏ, เพราะ โลหิต เดิน ลง มา ตาม คลอง นั้น ก็ ไม่ ได้. คลอง โลหิต แดง นั้น, อยู่ ฦก กว่า โลติต ดำ, ถ้า ผูก รัดนัก จึ่ง จะ กัน ลง ไป กึง ไม่ เดิน. ถ้า แล ผูก ไม่ สู่ ตึง นัก ก็ จะ กัน แต่ คลอง โลหิด ดำ เท่า นั้น.

ลูก ทนู นั้น, คือ บอก คลอง โลหิต เดิน. ถ้า ลูก ทนู นั้น ไป ทาง ไหน, โลหิต ก็ เดิน ใน คลอง ไป ทาง นั้น.

On Intermittent Fever.

ตำรา รักษา ไข้ จับ ให้ ตัว สั่น ต่อ ไป, ลักษณ ไข้ จับ มี ประเภท สี่ ประการ, คือ ให้ หนาว ประการ หนึ่ง, ให้ รอ้น ประการ หนึ่ง ให้ เหื่อ ออก ประการ หนึ่ง, ให้ ตัว สำเรา อยู่ ประการ หนึ่ง.

ที่ นี้ จะ ว่า ลักษณ ไข้ จับ ให้ หนาว กอ่น. ที่ ให้ หนาว นั้น เพราะ โลหิต เดิน ไม่ ปรกติ. ที่ ให้ ตัว รอ้น นั้น อาไศรย อกซุเช๊น ที่ เปน เชือ โลหิต, ถ้า โลหิต มิ ใค่ร จะ เดิน ทราบ ทร่าน ตาม ผิว หนัง, เขา ไป ภาย ใน กาย หนัก, เดิน ไม่ เสนอ ทั่ว กาย, ผิว หนัง นั้น ก็ ซีด ไป, จึง ให้ บังเกิด หนาว, จึ่ง ชัถ หน้า ผาก แห้ง ตึง, เส้น เทพจร ก็ เลก ลง แฃง เหมือน ลวด, เดิน เรว. เมื่อ แรก จับ นั้น ท้าว เอย๊น, มือ เอย๊น กอ่น, เพราะ โลหิต ที่ ปลาย ท้าว นั้น, นอ้ย กว่า ที่ อื่น, จึ่ง ให้ หนาว เอย๊น แล่น เสียว ตะลอด เข้า ไป ใน กาย จน ถึง กระดูก. ให้ ตัว สั่น สท้าน นัก, ให้ หายใจ หอบ เรว, ถอนใจ ใหญ่, บาง ที่ ให้ ใจ ระสำ ระสาย เภ้อ คลั่ง กระวล กระวาย. บางที ให้ หาว นอน เชื่อม ซืม ไป. บางที ให้ หนาว ให้ ตัว สั่น แต่ นอ้ย ๆ, แล้ว รู้ สึก ว่า หนาว เอย๊น เสี้ยว แล่น เข้า ไป ตาม แข้ง ตาม แฃน ตาม สันหลัง, เข้า ไป ใน ตัว แต่ นอ่ย หนึ่ง. บางที ให้ อาเจียน เหียน ราก, เพราะ โทษ โลหิต คั่ง อยู่ ใน กระเภาะ อาหาร ใหม่, ให้ ปาก แห้ง, น้ำลาย เหนียว. เปน ดั่ง กล่าว มา นี้ ประมาร ๓ ชั่วโมง, ชั่ว โมง บ้าง, แล้ว ให้ รอ้น.

จึ่ง มี คํา บุจฉา ว่า ลักษณ ไข้ จับ ดั่ง กล่าว มา นี้, จะ รักษา ประการ ใด. วิสัฉนา ว่า, อาการ ไข้ ดั่ง กล่าว มา นี้ ควร จะ รักษา บ้าง เลก นอ้ย. ถ้า เรา รักษา เกิน ไป ก็ จะ กระทำ อาการ ที่ รอ้น ให้ รอ้น กล้า นัก ไป, เปรียบ เหมือน ระดู หนาว, คน ติด ไฟ ใน เรือน, ใส่ เชื้อ ฟืน ที่ ติด ง่าย มาก เกิน ประมาร ไป, ไฟ นั้น ก็ จะ ลุก ไหม่ เรือน เสีย ประโยชณ์. เมื่อ คน หนาว นัก ตัว สั่น, ก็ ควร จะ ให้ ผ้า ห่ม ภอ ประมาณ, แล้ว จึ่ง ให้ กิน น้ำ รอ้น บอ่ย ๆ, แล้ว ให้ เอา ผ้า ศัก ลาด กู เข้า ที่ ตัว ให้ นัก ๆ, เปน ที่ เรียก โลหิต ให้ แล่น ทราบ ดาม ผิว หนัง. ควร จะ รักษา แต่ เท่า นี้ โดย มาก. แต่ หว่า บาง ที่ ควร จะ รักษา มาก ก็ มี่. คน กี่ เปน คี่ โรค, มี กำลัง นอ้ย อยู่ แต่ กอ่น แล้ว, ควร จะ รักษา ให้ มาก. ถ้า รักษา แต่ นอ้ย กลัว จะ เปน อัน ตราย, จะ ให้ หนาว ยืด ยาว เกิน ทำมดา ไป, ถ้า คน เปน โรค ดั่ง กล่าว มา นี้, ข้าพเจ้า เคย รักษา, ให้ กิน ยา ให้ คน ไข้ อาเจียน ราก ออก มา. ยา ที่ เคย ให้ กิน นั้น, มี สอง อย่าง, ซื้อ อิภิแฅก ยูอะนา เปน ราก ไม้ อย่าง หนึ่ง, ซื่อ ยุเภโธเรียม เปน ต้น หญ้า อย่าง หนึ่ง. ยา ทั้ง สอง อย่าง นี้ กิน ให้ แต่ ราก ออก ง่าย สิ่ง เดียว, ให้ เหื่อ ออก, ไม่ ลง เลย. ครั้น ราก ออก แล้ว, ก็ เปน เหตุ ที่ จะ ตัด อาการ หนาว นั้น, ให้ นอ้ย สั้น ลง. แล เปน เหตุ ที่ จะ ห้าม อาการ มิ ให้ บังเกิด รอ้น กล้า ขึ้น.

อนึ่ง หมอ บาง จำพวก เมือง นอก เมื่อ จะ ษักษา อาการ หนาว ใน คน คี่โรค นั้น, ให้ เอา ฝี่น ดิบ หุน ๑ แบ่ง ออก เปน ๖ มื้อ. เนื่อ คน ไข้ ใก้ล ถึง เวลา จับ, ก็ ให้ กิน ฝี่น นั้น สัก มื้อ หนึ่ง ก่อน. เขา เล่า สรรเสิญ ว่า, มี คุณ มาก, แต่ ทว่า คน ไข้ ที่ มี กําลัง มาก, ไม่ เปน คี่ โรค, เมื่อ กิน ฝี่น เช้า ไป, ก็ มัก เกิด โทษ แก่ ตัว มาก ขึ้น, จึ่ง สั่ง ให้ แพท หมอ ระวัง จง นัก.

อนึ่ง หมอ บาง จำพวก เมือง นอก, รักษา คน ไข้ ที่ มี่ กำลัง นอ้ย เปน คน คี โรค อยู่ ก่อน แล้ว, ก็ ให้ เฮา ผ้า แล เซือก ที่ เหนียว ผูก คาด เข้า ที่ ต้น ขา ให้ แน่น, แล้ว เอา ไม้ สอด เข้า ปีด หัน ไป, ให้ แน่น กระทำ ดั่ง นี้, เพื่อ จะ มี ให้ โลหิต ใน กาย ตัว นั้น แล่น ตก ลง มา เบื้อง ต่ำ ได้, เพราะ จะ ให้ กาย นั้น อุ่น ร้อน ด้วย โลหิต เรว ขึ้น.

บาง ที่ หมอ เมื่อ จะ รักษา ไข้ กำลัง หนาว, ถ้า ผู้ ใข้ นั้น เปน คน มี กำลัง มาก, มิ ได้ เปน คน คี่ โรก อยู่ กอ่น, ให้ เอา เชือก คาด เข้า ที่ แฃน ภอ ให้ โลหิต ดำ ดั่ง อยู่ แล้ว, เอา มีด ที่ แหลม แทง เข้า ให้ โลหิด ไหล ออก, จน เทพจร เปลง บริบูรรน์ ขึ้น แล้ว, จึ่ง แก้ เชือก ที่ คาด นั้น ออก เสีย, โลหิต ก็ จะ อยุด เอง. เขา ทำ ดั่ง นี้ เปน ที่ จะ ให้ อาการ ที่ หนาว แล รอ้น นั้น นอ้ย ลง. รักษา เช่น นี้ แต่ คน ไข้ ที่ มี กำลัง นั้น มาก, แล มี้ โลหิต มาก.