// css // javascript

Bangkok Recorder - December, 1844


๏ หนังสือ จดหมาย เหตุ ๚ BANGKOK RECORDER

VOL. 1. เล่ม ๑. บังกอก เดือน สิบ สอง ปี มโรง จุลศักราช ๑๒๐๖. DECEMBER, 1844. คริศศักราช ๑๘๔๔. ไป ๖. No. 6.

Chemistry. No. 1.

แต่ กอ่น นั้น คน ทั้ง ปวง ก็ เข้าใจ ว่า มี แต่ สี่ สิ่ง ใน โลกย์ นี้, คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ, เหมือน คน ไท เคย พูด ว่า ธาตุ ทั้ง สี่, แต่ เดี๋ยว นี้ คน นัก ปราช เหน ว่า ที่ ว่า มี แต่ ลี่ สิ่ง นั้น หา ควน ไม่, ดว้ย เหตุ ว่า สี่ สิ่ง นั้น มิ ได้ เปน แต่ สี่ สิ่ง แท้, มี หลาย สิ่ง ที่ ปน กัน เช้า. ฝ่าย ลม อากาษ นัน มิ ได้ เปน แต่ สิ่ง เดียว, แต่ หาก ว่า เปน สอง สิ่ง, คือ อกซุเช๊น สิ่ง หนึ่ง, นิตโรเช๊น สิ่ง หนึ่ง, สอง สิ่ง นี้ ปน กัน แล้ว จึ่ง เรียก ว่า ลม อากาษ. ฝ่าย น้ำ นั้น เส่า ก็ ไม่ เปน สิ่ง เดียว เหมือน กัน, แต่ เปน สอง สิ่ง, คือ อกซุเช๊น สิ่ง หนึ่ง, หุดโรเช๊น สิ่ง หนึ่ง, สอง สิ่ง นั้น ปน กัน เช้า จึ่ง เงียก ว่า น้ำ. อีก ประการ หนึ่ง, น้ำตาน ทราย นั้น ไม่ เปน แต่ สิ่ง เดียว, แต่ หาก ว่า เปน สาม สิ่ง, คือ อกซุเช๊น สิง หนึ่ง หุดโรเช๊น สิ่ง หนึ่ง, การะบน สิง หนึ่ง, สาม สิ่ง นี้ ปน กัน เช้า จึ่ง เรียก ว่า น้ำ ตาน ทราย. พวก นักปราช ทั้ง ปวง ก็ คัน หา สิ่ง ฃอง ซึ่ง มี อยู่ ใน โลกย์ นี้, ดรึก ตรอง ดู เหน ว่า ใน สิ่ง ซอง ทั้ง ปวง มี อยู่ มา ประมาณ ห้า สิบ สี่ สิ่ง, คือ สิ่ง ที่ แบ่ง ออก เปน สอง ไม่ ได้. ฝ่าย ห้า ลิบ สี่ สิ่ง นั้น ใน ภาษา ไท จะ เรียก อย่าง ไร ช้าพ เจ้า ก็ ไม่ รู้, แต่ ใน ภาษา อังกฤษ ห้า สิบ สี่ สิ่ง นั้น เรียก ว่า เอละเมนด์. ตำรา ที่ กล่าว ว่า ดว้ย ห้า สิบ ลี่ สิ่ง นั้น ใน ภาษา อังกฤษ เรียก ว่า เคมิซะตวี ช้าพเจ้า จะ ว่า ดว้ย เคมิซะตวี นั้น ต่อ ไป ภอ เปน สังเขป แต่ ภอ จะ ให้ เช้า ใจ เลก นอ้ย. ครั้น จะ แปล ตำรา นั้น ออก หมด ก็ จะ เปน หนังสือ เล่ม ใหญ่ ได้ หลาย เล่ม. ที่ นี้ จะ ว่า ดว้ย สิ่ง ที่ ซื่อ ว่า อกซุเช๊น.

Oxygen.

อกซุเช๊น นั้น แต่ กอ่น เปน ภาษา เฮเลน, ถ้า จะ แปล เปน คํา ไท ว่า, อกซุเช๊น นั้น คือ กระทำ ให้ เปรี้ยว, ดว้ย เหตุ ว่า สิ่ง ฃอง ทั้ง ปวง ที่ เปน เปรี้ยว นั้น ก็ มี อกซุเช๊น อยู่ ใน นั้น. ถ้า จะ ไล่ อกซุเช๊น ออก เสีย จาก ฃอง ที่ เปรี้ยว นั้น, ฃอง นั้น ก็ ไม่ เปรี้ยว เลย. อนึ่ง เมื่อ อกซุเช๊น อยู่ แต่ สิ่ง เดียว ไม่ ปน กับ สิ่ง อื่น, มัน ก็ เปน ลม อย่าง หนึ่ง, เปน หนัก กว่า ลม อากาษ นอ่ย หนึ่ง. อกซุเช๊น เมื่อ จะ รู้ ปรากฏ ขึ้น นั้น ก็ มี หมอ คน หนึ่ง ชื่อ เปรเษไล ได้ รู้ กอ่น คน ทั้ง ปวง, รู้ เมื่อ กอ่น เจด สิบ ปี ลว่ง ไป แล้ว นับ แต่ ปี นี้ ไป. ถ้า ผู้ใด จะ กระทำ อกซุเช๊น นั้น ให้ อยู่ แต่ สิ่ง เดียว ก็ กระทำ ได้, ทำ ไม่ ยาก เลย. สิ่ง ฃอง ทั้ง ปวง ที่ เปน สนิม แล้ว, มี เหลก แล ตะกั่ว เปน ตัน, ก็ มี อกซุเซ๊น อยู่ ใน นั้น. แต่ มี สิ่ง หนึ่ง ซื่อ มัง กะเนซ คล้าย ๆ กับ ตะกั่ว นั้น, จะ เอา สิ่ง นั้น กระทำ ให้ อกซุเช๊น ออก ปรากฏ ก็ กระทำ ได้ ง่าย. คือ ทำ ดั่ง นี้, คือ เอา มังกะเนช หนัก ศัก ตำลึง หนึ่ง ใส่ ลง ใน ครก ตํา ให้ ละ เอียด, แล้ว ใส่ ลง ใน ขวด ทำ ดว้ย เหลก มี ฅอ เลก ๆ ยาว ศัก ศอก หนึ่ง, แล้ว ใส่ ขวด นั้น ใน ไฟ ให้ รอ้น, ๆ แล้ว อกซุเซ๊น ทื่ อยู่ ใน ผง มังกะเนช นั้น ก็ จะ ออก มา จาก ปาก ขวด ที่ รอ้น นั้น, แล จะ รับ ไว้ ซึ่ง อกซุเซ๊น ที่ ออก มา ดว้ย ขวด แก้ว ก็ ได้. อัน ว่า ลม อากาษ ที่ เรา หายใจ เข้า ออก นั้น ไม่ เปน สิ่ง เดียว เหมือน เรา ว่า มา แต่ หลัง นั้น, แต่ เปน สอง สิ่ง, คือ อกซุเซ๊น หนึ่ง, นิตโรเช๊น. หนึ่ง, แต่ นิตโรเช๊น นำ นั้น มาก กว่า อกซุเซ๊น ศัก ๔ เท่า. คือ เอา ลม อากาษ รอ้ย ทนาน, กระทำ ลม อากาษ นั้น ให้ อกซุเซ๊น แล นิตโรเช๊น ให้ แยก ออก กัน, จะ มี อกซุเซ๊น ศัก ๒๐ ทนาน, นิตโรเช๊น ศัก ๒๐ ทนาน, เปน เชน นี้ หั่ว โลกย์ ทุก แห่ง. แต่ กอ่น นั้น มี คน หนึ่ง ซี่อ ลูซัก ได้ เอา บาลูน ขึ้น ไป ใน อากาษ ขึ้น ไป สูง ประมาณ ๑๖๕ เส้น, แล้ว เอา ขวด ใส่ ลม ที่ สูง ให้ เตม ขวด, แล้ว ก็ จุก ปาก ขวด ให้ แน่น ไม่ ให้ ลม นั้น ออก ได้. แล้ว ก็ กลับ ลง มา กระทำ อกซุเซ๊น แล นิตโรเช๊น ให้ แยก ออก จาก นั้น. เมื่อ ตรึก ตรอง ดู ก็ เหน ว่า อกซุเซ๊น นั้น มี ศัก ๒๐ ส่วน, นิตโรเช๊น มี ศัก ๘๐ ส่วน, เหมือน กัน กับ ลม ที่ ต่ำ ทุก แห่ง, มิ ได้ ผิด กัน เลย. ช้าง หน้า นี้ ไป ข้าพเจ้า จะ ว่า ดว้ย อกซุเซ๊น นั้น ต่อ ไป อีก.

ข่าว ต่างๆ. Summary.

มี ข่าว มา แต่ เมือง อายฆุบโต, ว่า ใน เดือน แปด ปะถมา สาท ขึ้น ๑๕ ค่ำ, ว่า กระษัตร เมือง อายฆุบโต ปว่ย หนัก แต่ ว่า คอ่ย ยัง ชั่ว แล้ว. กระษัตร องค์ นั้น เปน คน ชรา แล้ว, จะ ตั้ง อยู่ ยืน นาน ก็ ไม่ ได้. แล ใน เกือน แปด ปะถะมาสาท ขึ้น ๑๕ ค่ำ นั้น, กระษัตร ใน เมือง อายฆุบ โดได้ ปล่อย ซึ่ง นักโทษ ใน เมือง อายมุบโด จน หมด. ปล่อย นั้น ดว้ย เหตุ อย่าง ไร, ใน หนังสือ ข่าว ก็ มิ ได้ ว่า ปรากฏ.

แต่ กอ่น เมื่อ กาล ลว่ง ไป ได้ ศัก ๑๐ ปี, คน ที่ อยู่ ใน เมือง อังกฤษ จะ ฝาก หนังสือ ไป ถึง เมือง บัมเบ, เมือง กาละกัตตา, แล เมือง ลังกา, หนังสือ นั้น มา ถึง ข้า นัก, ๓ เดือน ๔ เดือน จึ่ง จะ ถึง, ดว้ย หน ทาง กำ ปัน มา นั้น มัน ออ้ม นัก. แต่ เดี๋ยว นี้ เขา ฝาก หนังสือ มา นั้น ถึง เรว นัก, เดือน หนึ่ง ก็ ถึง, ดว้ย เหตุ ว่า เขา ตัต หน ทาง เดิน ใหม่. เขา ตัต ทาง เดิน ใน ทาง ฝรั่งเศศ, แล้ว ลง กำปันไฟ แล่น ไป ใน ชะเล ดว้น, แล้ว ก็ ขึ้น เดิน ไป บน บก อีก ประมาณ หน ทาง ศัก วัน หนึ่ง, แล้ว ก็ ลง กำ ปัน ไฟ อีก ที่ สำหรับ คอย รับ จ้าง เชา จอด คอย อยู่ ที่ นั่น, แล่น ต่อ ไป อิก, หนังสอ นั้น จึ่ง ถึง เรว นัก, เรว กว่า แต่ กอ่น ศัก ๒ เท่า ๓ เท่า.

มี หนังสือ ข่าว มก แต่ เมือง บัมเบ เขา ตีภิม, ๆ เมื่อ เดือน แปด ทุติ ยาสาท แรม ๑๑ ค่ำ, ว่า มี่ หนังสือ ข่าว มา แต่ เมือง อังกฤษ, ทาง มา ๒๘ วัน กับ ๑๕ โมง, ว่า มา เรว นัก.

มี หนังสือ ข่าว มา แต่ เมือง จีน, ว่า มี กําปั่น อเมริกา ลํา หนึ่ง, มา แต่ เมื่อง นุยอก ใน ประเทษ อเมริกา, มา ถึง เมือง ฮงคง, มา ถึง เมื่อ เดือน แปค ทุติยาสาท แรม ๑๐ ค่ำ, กําปั่น นั้น เดิน เรว นัก เดิน ๘๗ วัน ก็ ถึง. เรว กว่า กําปั่น ที่ เดิน มา แต่ กอ่น ๆ ทั้ง ป่วง.

จะ ว่า ดว้ย นารกา ว่า, เดี๋ยว นี้ พวก อังกฤษ เอา นารกา ไป ขาย ใน เมือง จีน มาก. แล ใน เมือง ลันดัน เปน ประเทย อังกฤษ, มี ช่าง เงิน คน หนึ่ง รับ คํา พ่อค้า อังกฤษ ซึ่ง ไป ค้า ฃาย ใน เมื้อง จีน, เขา ให้ ทำ นารกา พับ ทำ ดว้ย เงิน สอง หมื่น ห้า พัน นารกา, เขา จะ เอา ไป ฃาย ใน เมือง จีน.

Statistics of Ardent Spirit in Siam.

เรา เหน ว่า, ผู้ใด ได้ อ่าน หนังสือ นี้, ลาง คน ก็ จะ คิต ว่า, ทุก วัน นี้ โทษ สุรา ใน เมือง ไท มี้ นอ้ย นัก, ไม่ สู้ หนัก กลัว ไม่ สู้ เปน อะไร นัก. แต่. ตัว เรา นี้ จะ ฃอ ให้ ท่าน ผู้คิด เช่น นี้, ให้ พิเคราะห์ ดู โทษ สุภา, ให้ ละ เอียด เสีย กอ่น อย่า เภ่อ คิด ว่า มี โทษ แต่ นอัย เลย. เรา ได้ ยิน ขุน บาง ใน เมือง นี้ คน หนึ่ง เล่า ว่า, ใน บังกอก กรุง คือะยุทธยา, มี เตา ที่ เขา ต้ม สุรา ๓ เตา. เขา กลั่น สุรา ทั้ง กลาง วัน กลาง คืน, เตา ละ ๑๘ เท ทัง ๔ เตา, เปน วัน ละ ๗๒, ๆ ละ ๓๐ ทนาน สุรา ๗๒ เท เปน สอง พัน รอ้ย หก สิบ ทนาน. อัน นี้ เขา ทำ วัน เดียว. คิด เปน ปี ละ ๗ แสน ๘ หมื่น ๕ พัน ๕ รอ้ย ทนาน. การ ที่ ต้ม สุรา เช่น นี้, เขา ว่า ไม่ ได้ อยุค เลย สัก วัน หนึ่ง แล เขา ว่า นาย อาการ สุรา ใน กรุง บังกอก นี้ ได้ ถวาย เงิน อากอร สุรา ทั้ง ๔ เตา มี ปี ละ ๒ พัน ชั่ง เศศ.

แล้ว ขุน นาง ผู้ นั้น เล่า กับ เรา ว่า, บันดา เมือง ขึ้น ๑๖ หวัว เมือง, คือ เมือง ณคไชยษรี, เมือง ลมุทตําคร, เมือง เพชะบูรีย์, เมือง สุพรรณบู วีย์, เมือง กรุงเก่า, เมือง ศะถะบูรีย์ เมือง ฉะเชิงเซา, เมือง ชะละ บูวีย์, เมือง จันทบูรีย์, เมือง ชุมบร, เมือง ไชยา, บา้นดร, เมือง ณคร, เมือง สังฃลา, เมือง พังงา, เมือง ตะกั่วป่า, ใน หวัว เมื้อง เหล่า นี้, มี เตา ต้ม สุรา เมือง ละ เตา เปน แน่, ทั้ง สิบ หก หวัว เมือง ที่ มี เมือง ละ ๒ เตา ก็ จะ มี บา้ง, แต่ ยัง ไม่ รู แน่. ทั้ง สิบ หก เตา นั้น, เขา ต้ม วัน หนึ่ง. เตา ละ ๑๘ เท, เปน สุรา วัน ละ ๒๘๘ เท. คิด เปน ทนาน เปน ๘ พัน ๖ รอ้ย ๔๐ ทนาน. ปี หนึ่ง, เปน สุรา ๓ ล้าน แสน หนึ่ง ๕ หมื่น ๓ พัน ๖ รอ้ย ทนาน. ถ้า เอา สุรา ที่ เตา ตัม ใน แฃวง เมือง เหล่า นั้น, ประสม เช้า กับ สุรา, ที่ เขา ต้ม ใน กรุงเทพ นี้, เปน สุรา ๓ ล้าน ๙ แสน ๔ หมื่น ๒ พัน ทนาน. เปน สุรา แสน ๓ หนื่น ๔ พัน รอ้ย เท. เช่น นี้ สุรา มิ มาก หฤา ถ้า ผู้ใด จะ ฃน เอา สุภา นั้น ไป ไว้ ที่ อื่น, ฃน วัน ละ ๙๐ เท, ทุก วัน ๆ ไม่ อยุด, กอ้ง ฃน ร่ำ ไป ทุก วัน ๆ ไม่ เว้น, ฃน ๔ ปี จึ่ง หมด. เรา คิด ดู เช่น นี้, ก็ เหน ว่า, การ ตัม สุรา นั้น มาก นัก หนา. แต่ เรา เหน ว่า, ยัง คิด ไม่ หมด. เขา คง ต้ม สูรา มาก กว่า นี้ แน่. อนึ่ง เรา ได้ ยิน ว่า, คน ที่ ลอบ ลัก ตัม สุรา กิน ที่ ละ เลก ละ นอ้ย นั้น, ก็ มี มาก. ใคร จะ นับ ได้. อนึ่ง ตะเภา จีน ก็ เอา สุรา เช้า มา แต่ เมือง จื่น แล เมือง อืน ๆ, เข้า มา ชาย ใน เมือง ไท นี้, ก็ มี มาก, จะ นับ ไม่ ได้ แต่ ละ ปี เหน จะ มี หลาย แสน ทนาน. เรา ไม่ รู้ แน่, จึง ไม้ นัน เข้า, ยก ออก เสีย. จะ ว่า แต่ สุรา ที่ เขา ตัม ใน แว่น แคว้น จังวัด ปรเทษ ไท. สุรา นั้น เขา ตัน เปน ปี ละ สาม ล้าน เก้า แสน ๔ หมื่น ๒ พัน ทนาน ทุก ปี ๆ สุรา นี้ เขา ไม่ ได้ เอา ไป ชาย ใน ประเทษ อื่น ศัก หนัด. ชาว เมือง ไท ก็ ดื่ม เสีย หมต. น้ำ พิศม์ นี้ มี มาก ถึง ปี ละ สาม ล้าน, ๙ แสน ๔ หมื่น ๒ พัน ทนาน, ที่ ชาว เมือง นี้ กิน สิ้น ทุก ปี ๆ เช่น นี้ ไม่ หน้า กลัว หฤา น้ำ พิศม์ นี้ กิน เข้า ไป ก็ ไม่ มี คุณ เลย. มัน กระทํา ให้ ความ สะบาย ใน ตัว วิประริต ไป ทุก ที่ ๆ. ให้ เกิด โรค ใน กาย โดย มาก. ให้ ชีวิตร สั้น ดว้ย ทุก ครั้ง. ให้ เปน แต่ ที่ บำรุง การ ขี้ ฉ้อ, การ ขะโมย, การ เล่น เบี้ย, เล่น โปเล่น หวย, แล การ ทเลาะ วิวาท ชก ดี ทิ่ม แทง, แล การ ประหาร ชีวิตร, การ ยาก ไร้ เฃน ใจ, แล การ ย่อย ยับ ฉิบ หาย เช่น นั้น. อัน สุรา ที่ ให้ เกิด แต่ การ ชั่ว เช่น นี้, ถ้า ผู้ ทำ นั้น ได้ ทำ ไว้, แล เท ลง ให้ แก่ ชาว เมือง นี้ เปล่า ๆ, ไม่ เอา ราคา เลล ค่า ปว่ย การ ค่า เหนื่อย เลย, ก็ จะ ยัง ชั่ว บ้าง, เพราะ สุรา มัน เปน อยา พิศม์, ไม่ กวร จะ ซื้อ ขาย. บัด นี้ เขา ก็ ขาย สุรา, เกบ เอา เงิน ที่ ซาว เมือง ตอัง การ จะ เอา ไร้ เลี้ยง ตัว, แล เลี้ยง บุตร ภรรยา นั้น, เอา มา เปน ค่า สุรา เสีย. ที่ เขา ขาย สุรา นี้, เปน ที่ เกบ เอา ทรัพย์ แต่ ผู้ ซื้อ, ให้ ยาก จน เฃนใจ ไป. ถ้า ชาว เมือง เสีย ค่า สุรา แต่ ทนาน ละ สลึง, ก็ เปน เงิน ปี ละ หมืน สอง พัน สาม รอ้ย สิบ แปด ชั่ง สิบ ตำลึง, เพราะ เขา ซื้อ สุรา กิน ปี ละ ๓ ส้าน ๙ แสน ๔ หมืน ๒ พัน ทนาน. เขา เสีย ค่า สุรา มาก เช่น นิ้, เปน ผล เปน ประโยชน์ อัน ใด. มี ล้วน แค่ ผล ชัว ทั้ง นัน, คือ ว่า สุรา นั้น ชัก น้ำ ตัว ผู้ กิน, แล ครอบ ครัว, แล แผ่น คิน ที่ ตัว ผู้ กิน นัน อยู่, ให้ ลง สู่ วินาศ ฉิบ หาย. เงิน หนื่น สอง พัน สาม รอ้ย สิบ แปด ชั่ง สิบ ตำลึง นี้, ถ้า เกบ ไว้ ทุก ปี ๆ แล้ว ก็ ทิ้ง ไป ใน ทอ้ง มหา สมุท, บันดา ชาว เมือง ทั้ง ปวง ก๊ จะ ได้ ชวน กัน ติเตียน นัก, ว่า เอา เงิน ไป ทั้ง เสีย เปล่า ๆ. บัด นี้ เขา เกบ เอา เงิน ปี ละ หมื่น ๒ พัน สาม รอ้ย สิบ แปด ชั่ง สิบ ตำลึง นั้น, ไป เปน ค่า น้ำ พิศม์, ที่ เขา ได้ ระคน ปน กัน กับ น้ำ กิน, เพื่อ จะ ให้ ภา ผู้ กิน ไป สู่ ความ ยาก, แล ให้ เปน โรค ไภย อัน ตราย ต่าง ๆ, จน ถึง สิ้น ชีวิตร, นั้น รา้ย กาษ นัก. เอา เงิน นั้น ไป ทิ้ง ใน มหาสมุท เสีย เปล่า ๆ ดี กว่า.

Circulation of the Blood. No 2.

บัด นี้ จะ ว่า ด้วย ตำรา โลหิต เดิน ใน หวัวใจ ต่อ ไป. ใน จด หมาย เหตุ แผ่น ที่ ห้า ได้ สําแดง หวัว ใจ มนุษ บ้าง เลก น้อย, บัด นร้ จะ ลําแดง ให้ กว้าง ขวาง ต่อ ไป อีก. มี คำ บุฉา ว่า, ทํา ไฉนโลหิต ใน กาย มนุษ จึ่ง เดิน ไป เดิน มา เปน เหตุ อย่าง ไร. วิสัชฉา ว่า, หวัวใจ มนุษ ที่ ตั้ง อยู่ ใน อก เปน เครื่อง ฉีค เครือง สูบ, โลหิค จึ่ง โหล จาก หวัวใจ ไป ทั่ว กาย, แล้ว ก็ กลับ เข้า มา สู่ หวัวใจ อีก, ก็ ฉีด ออก ไป อีก, ไม่ อยุด ดั่ง นั้น. เหมือน กับ เครื่อง ฉีด น้ำ สูบ น้ำ เข้า ไป, แล้ว น้ำ นั้น ก็ ฉีด ออก ไป แล้ว, ก๊ สูบ เข้า มา แล้ว, ก๊ ฉีด ออก ไป ไม่ อยุด. ถ้า หวัว ใจ มนุษ นั้บ ไม่ ได้ สูบ แล ฉีด โลติก ให้ ไหล ไป ไหล มา เสมอ แล้ว, ชีวิตร มนุษ นั้น ก็ จะ ดับ ไป ใน บัด เดี๋ยว นั้น. ด้วย, เหตุ ว่า โลหิค นั้น เปน ที่ ชู ชีวิตร ทั่ว ทั้ง กาย. ส่วน อาหาร ทั้ง ปวง ที่ มนุษ กิน นั้น, ก็ กลับ กลาย เปน โลติต ก่อน, แล้ว ก็ ไหล ซึม ซาบ ไป หั่ว ทั้ง กาย, เหน, เหตุ ที่ จะ ชู ชีวิตร ไว้. ถ้า อาหาร นั้น มิ ได้ กลับ เปน โลหิต แล้ว, ก็ ไม่ เลี้ยง ซีวิตร ได้.

ใน หวัวใจ มนุษ นั้น, นี่ มี เครื่อง สูบ แล ฉีด อยู่ สอง สำรับ ยืด, อยู่ ด้วย เอน ชิด กัน. ใน จดหมาย เหตุ ที่ ก่อน นั้น, เรา ได้ สำแดง หวัวใจ สอง อัน ที่ ติด กัน อยู่, ดู เหมือน เปน อัน เดียว เปน ปรกติ ใน มนุษ อย่าง นั้น. บัด นี้ เรา จะ เปลี่ยน แผ่น ที่ กระทำ ให้ หวัวใจ แยก อยก ไป เปน สอง หวัวใจ น่อย หนึ่ง, แต่ ภอ จะ ให้ เหน ว่า, เปน เครื่อง สูบ เครื่อง ฉีด สอง สำรับ,

อัน ลูก ทนู นี้ ชี้ ไป ตรง ไหน, ก็ เปน ที่ ให้ รู้ ว่า โลหิต ใน คลอง นั้น, ไหล ไป ตรง นั้น.

อัน ลูก ทนู นี้ ชี้ ไป ตรง ไหน, ก็ เปน ที่ ให้ รู้ ว่า โลหิต ใน คลอง นั้น, ไหล ไป ตรง นั้น.

ให้ เปน ซ้าย ขวา. ตัว, ก, นั้น ชี่ หวัวใจ ช้าง ขวา. ตัว, ฃ, นั้น ชี้ หวัว ใจ ช้าง ซ้าย. ตัว, ค, ค, นั้น ชี้ โลหิต ดำ ไหล สู่ ชาน หวัว ใจ ขวา. ตัว, ฆ, นั้น ชี้ ชาน ขวา. ตัว, ง, ง, นั้น ชี้ โลหิต ฉิด ออก จาก หวังใจ ขวา, เซ้า สู่ ปอด ใน อก ทั้ง ซ้าย ขวา ถูก ลม หายใจ, แล้ว ก็ เปน ศี แดง ไป. ตัว, จ, จ, นั้น ชี้ โลหิด ไหล จาก ปอด ทั้ง สอง, ไหล เช้า ไป สู่ ชาน หวัวใจ ช้าง ซ้าย. ตัว, ฉ, นั้น ชี้ ชาน ช้าง ซ้าย. ตัว, ช, นั้น ชี้ คลองโลหิด แดง ฉิด ออก จาก หวัว ใจ ซ้าย, ไหล แยก เปน ทาง ขึ้น ไป ศิศะ บ้าง, แขน บ้าง, แล้ว ก็ เลี้ยว ลง ตาม กะดูก หลัง, แล้ว ก็ แยก ลง ชา ซ้าย ขวา. ตัว, ณ, นั้น ชี้ คลองโลหิต แดง ที่ ลง มา ตาม กะดูก หลัง นั้น. หวัวใจ ทั้ง สอง ไม่ ได้ ฉีด พร้อม กัน. ช้าง ขวา ฉีด ก่อน. เมื่อ ช้าง ขวา อยุด, ช้าง ซ้าย ก็ ฉิด, ๆ เปลี่ยน กัน เสมอ อยู่ ไม่ วิปะริต.

หวัวใจ อาจ ฉีด ได้, ก็ เพราะ เอน นั้น ชัก เช้า จึ่ง ฉีด ได้. เอน มัง สะ หวัวใจ นั้น เกี่ยว ประสาน กัน ไป มา. เมื่อ เส้น นั้น ชัก เช้า, ก็ ให้ หอ้ง โลหิด หุบ เช้า ชีด กัน สนิด ดี, โลหิด ที่ อยู่ ใน ห้อง นั้น, จึ่ง ฉีด ออก ไป แห้ง หมด. เอน หวัวใจ ที่ ประสาน ที่ ชัก ช้าง ขวา นั้น ทั้ง เลก ทั้ง อ่อน. เอน หวัวใจ ที่ ประสาน ที่ ชัก ช้าง ซ้าย นั้น ทั้ง โต ทั้ง แขง แรง นัก. เปน ไป ดั่ง นี๊ ก็ เพราะ เหน ว่า เอน หวัวใจ ที่ ชัก ช้าง ขวา นั้น ฉีด โลหิต ไป ถึง แต่ เพีอง ปอด. เอน หวัวใจ ที่ ชัก ช้าง ซ้าย นั้น, ฉีด โลหิต ไป ไกล ทั่ว ทั้ง กาย. ที่ ชาน หวัวใจ ทั้ง ขวา ทั้ง ซ้าย นั้น, มี รู ที่ ให้ โลหิต ไหล เชา ไป ใน ห้อง. รู นั้น วัด โดย กว้าง ประมาน นิ้ว หนึ่ง. ที่ ปาก รู นั้น มี เนื้อ พั้ง ผืด เปน กลีบ อยู่ สาม กลีบ ติด อยู่. เมื่อ โลหิด เตม ห้อง แล้ว มัน ก็ ปิด รู นั้น ไว้, ไม่ ให้ โลหิต ออก ได้. เมื่อ ห้อง นั้น หุบ เข้า ด้วย เส้น ชัก นั้น ให้ โลหิต นั้น ไหล ออก ไป กาง อื่น. เหมือน กับ เครื่อง สูบ ลม นั้น, เมื่อ ลม นั้น เข้า, ก็ เข้า ทาง หนึ่ง, เมื่อ ออก ก็ ออก ทาง หนึ่ง. ด้วย ทาง ที่ ลม เข้า นั้น, เมื่อ หุบ เข้า ก็ มี ลูกลม ปิด ประตู นั้น ไว้, ไม่ ให้ ลม นั้น ออก ได้ ตาม ที่ เข้า. บันคา โลติต คำ ทั้ง หมด, ก็ ไหล เข้า ไป ใน ชาน ข้าง ขวา, แล้ว ชาน นั้น ก็ หุบ เข้า, ให้ โลหิต นั้น, เข้า ไป ใน ห้อง หวัว ใจ ข้าง ขวา. ประตู ที่ รู นั้น จึ่ง ปิด. ห้อง หวัว ใจ ข้าง ขวา นั้น, จึ่ง รัด เข้า ให้ โลหิต ฉีด ออก ตาม คลอง ที่ เข้า ไป สู่ ปอด. ครั้น โลหิต ดำ นั้น ถูก ลม หายใจ ที่ ปอด, ก็ กลับ แดง ขึ้น, แล้ว ก็ ไหล กลับ มา ตาม คลอง ที่ ***ตัว, จ, จ, ชี่ นั้น, เข้า ไป สู่ ชาน ข้าง ซ้าย. ชาน ข้าง ซ้าย นั้น ก็ ทุบ เข้า ยัง โลหิต ให้ ลง ไป สู่ ห้อง หวัวใจ ข้าง ซ้าย. แล รู ชาน ที่ เปน กลีบ ปิค อยู่ สาม กลีบ นั้น, ก็ ปิด มิด, ห้อง โลติต ช้าง ซ้าย นั้น, จึ่ง รัด เข้า ให้ โลทิต นั้น ไหล ออก ตาง คลอง ที่ ตัว ซ, ซี้ นั้น, ให้ ไหล ไป ทั่ว ทั้ง กาย, เปน ที่ ชู ชีวิตร ไว้ เหมือน บิดา มารดา ที่ สงเคราะ แก่ ลูก, ตาม ที่ ลูก ตัอง การ นั้น. โลหิต นั้น ก็ เปน ที่ สงเคราะ แก่ กาย ทั้ง ปวง, คือ ให้ เปน กะดูก, เปน หนัง, เปน เอน, เปน เนื้อ, เปน น้ำ, สารผัด เปน ทั่ว ทั้ง กาย.

On Lacerated and Contused Wounds.

ตํารา รักษา แผล ฟก ช้ำ ที่ แตก ออก. แผล อย่าง นี้ รักษา อยาก กว่า แผล ที่ ตอ้ง บาท ด้วย อาวุท ต่าง ๆ อัน คม นั้น, ดว้ย เหตุ ว่า แผล บาท ดว้ย อาวุธ นั้น, จะ รักษา ไม่ ให้ เหน้า, ไม่ ให้ เปน หนอง, แล ให้ ติด กัน เรว ก็ ใด้. แต่ แผล ที่ ฟก ช้ำ แตก ออก นั้น, ก็ ตอ้ง เปื่อย เหน้า ไป ไม่ ติด กัน ได้. ถ้า จะ รักษา ก็ ตอ้ง ให้ เนื้อ ที่ เสีย ที่ เหน้า นั้น ให้ หลุก ให้ ขาก ไป, แล้ว จึ่ง เรียก เนื้อ แดง ให้ เตม ขึ้น ที่ รัก นั้น. แล้ว จึ่ง ให้ เนื้อ แดง นั้น แฃง หุบ เข้า ทุก ที่ ๆ จน หาย. เมื่อ แรก รักษา นั้น, เนื้อ หนัง ที่ ช้ำ นั้น ยัง ติด อยู่ อย่า ผูก อย่า รัด เลย, จะ เกิด มี พิศม์ ให้ มาก. ให้ เอา เข้า ต้ม เปื่อย ๆ อุ่น ๆ พอก ไป. เปลี่ยน เข้า พอก นั้น วัน ละ สาม หน. ถ้า แผล นั้น บวม นัก ปวด นัก, ก็ ให้ เอา ปลิง มา ปล่อย ที่ ใก้ล ๆ แผล, ให้ ปล่อย ที่ วิม แผล ๖ ตัว ๑๐ ตัว ๒๐ ตัว ตาม แผล ที่ ฟก ช้ำ, โต ใหญ่ นั้น. เมื่อ ปลิง นั้น กิน เตม หล่น แล้ว, ก็ เอา เข้า ต้ม พอก ไว้ ดัง เก่า. แล ให้ กิน ดี เกลือ ไท ก็ ได้ เทษ ก็ ได้, แต่ | ภอ ให้ ลง วัน ละ ๕ หน ๖ หน. ให้ อด ฃอง แสลง มี เนื้อ แล น้ำ มัน แล ฃอง เผด งอ้น เปน ตัน. ถ้า เรา เหน ว่า แผล นั้น เปน หนอง นัก, แล เหน ว่า ตัว คน เจบ นั้น ละ หอ่ย ออ่น ไป นัก, ก็ ให้ อยุด ดี เกลือ นั้น เสีย, ให้ กิน อยา คินีน, คือ อยา ขาว เทษ, ที่ รักษา ไข้ ตัว สั่น นั้น, ให้ ศิน วัน ละ ๔ เมด ๕ เมด. แล ให้ กิน อาหาร ที่ ซู ชีวิตร เว้น ไว้ แต่ ฃอง แสลง ให้ มี กําลัง มาก. เมื่อ ที เหน้า นั้น ตก แล้ว, ก็ ให้ ณะ ดว้ย น้ำ กรด ดิน ประสิว ก็ ได้, ดว้ย น้ำ จุลศี ก็ ได้, สอง สิ่ง นี้ ให้ ละลาย ใน น้ำ ให้ ออ่น อย่า ให้ กล้า นัก. แล้ว ก๊ ปิด ขี่ผึ้ง เรี่ยก เนื้อ. ขี้ผึ้ง นั้น ทำ ดว้ย ขี้ผึ้ง แขง หนัก สอง ส่วน, ยาง สน จีน หนัก ห้า ส่วน, น้ำ มัน มะพรา้ว แปด ส่วน, หุง ละ ลาย เข้า กัน. เมื่อ ขี้ผึ้ง เอย๊น แล้ว, ก็ เอา ขี้ผึ้ง นั้น ทา กะคาษ ก็ ได้ ผ้า ก็ ได้ ปิด แผล ไว้, อุศ่า ณะ อุศ่า ล้าง ปีด ขี้ผึ้ง ไว้ คั่ง นี้, วัน ละ สอง หน. แล้ว อย่า ทำ ให้ กะเทือน แผล นัน เลย, จึ่ง จะ หาย แล.

Treatment of Intermittent Fevers.

ตำรา รักษา ไข้ จับ ให้ ตัว สั่น. เมื่อ แรก จับ, เทพจร ยัง กําเริบ อยู่, กําลัง ตัว ยัง ไม่ ออ่น ลง, ถ้า เปน ดั่ง นี้, ก็ อย่า เภ่อ กิน ยา ให้ ตัด ไข้ ขาด ที่ เดียว กอ่น เลย, ดว้ย ว่า ขี้ มัก เปน อีก, ถึง ยา จะ มี ฤทธิ์ มาก จะ ตัด ขาด เรว ได้, ใน เจด วัน, เก้า วัน, สิบ สี่ วัน ยี่ สิบ เอค วัน, ไข้ นั้น มัก มา จับ อี่ก. เปน ไป ดั่ง นี้ เพราะ ไม่ ได้ ถ่าย ให้ เทพจร ออ่น ลง กอ่น กิน ยา ตัด ให้ ขาด นั้น. ผู้ใด เปน โรค ไข้ สั่น, ก็ ให้ ถ่าย ดว้ย ดี เกลือ ไท ก็ ได้, ดี เกลื้อ เทษ ก็ ได้, เอา ยา ที่ ให้ ราก ตาม ที่ ชอบใจ กิน ใส่ ปน กับ ดี เกลื้อ สัก นอ่ย หนึ่ง, ภอ ให้ ราก ออก สาม หน สี่ หน, ถ่าย ให้ ลง ท้า หน หก หน, ให้ อด ฃอง แสลง, มี เนื้อ สัตว, นั้น มัน, เข้า เหนี่ยว, กะปิ, สุรา เปน ตัน. ให้ รักษา ดั่ง นี้ สัก สอง วัน สาม วัน กอ่น. ภาย หลัง จึ่ง ให้ กิน ยา เทษ ซึ่ง คินีน, ที่ ไท เรียก ว่า ยา ขาว, เอา คินีน นั้น หนัก หุน หนึ่ง, แบ่ง เปน หก สว่น. เมื่อ ไข้ ล่าง ออก แล้ว, ให้ กิน สว่น หนึ่ง, แส ใน สอง ชั่ว โนง กิน ที หนึ่ง ๆ, กิน ทุก ที, จนถึง เวลา นอน หลับ กลาง คืน. แล เมื่อ ตื่น ขึ้น แต่ เข้า, เกิน เหมื่อน ดั่ง ว่า มา แล้ว, จน ถึง เพลา ที่ เคย จับ. ถ้า ไข้ มา จับ อีก, ก็ ให้ อยุด ยา คินีน นั้น กว่า ใช้ จะ ล่าง ออก อีก, แล้ว ก็ รับ คิ นีน กิน อีก เหมือน หน หลัง. รักษา ดั่ง นี้ ไข้ คง หาย ขาด ที เดียว ไม่ ใค่ร จะ กลับ มา จับ อีก. คินีน นั้น, บัด นี้ มี ขาย ที่ ตึก หันแตร สัก ห้า สิบ ขวด. เขา ว่า ถ้า ผู้ใด ซื้อ ทั้ง หมด จะ ขาย เปน ขวด ละ ๑๐ เหรียน. ถ้า ซื้อ แต่ ขวด เดียว จะ ขาย เปน ๑๕ เหรียน. คินีน ใน ขวด เดียว น้ำ หนัก ๒ บาด, แบ่ง เปน ๔๘๐ มื้อ. ภอ รักษา คน ไข้ สั่น ให้ หาย ขาด ประมาณ ใด้ ๔๐ คน. ดั่ง นี้ มิ ถูก นัก แล้ว หฤๅ.