// css // javascript

Bangkok Recorder - October, 1844


๏ หนังสือ จดหมาย เหตุ ๚ BANGKOK RECORDER

VOL. 1. เล่ม ๑. บางกอก เดือน สิบ ปี มโรง จุลศักราช ๑๒๐๖. OCTOBER, 1844. คริศศักาช ๑๘๔๔ ใบ ๔. No. 4

ตำรา ลม อากาษ. The Atmosphere

บท สอง. No. 2.

ใน หนังสือ จด หมาย เหตุ เดือน กอ่น นั้น, ได้ ว่า ลม อากาษ นิ้ว แล นิ้ว ทั่ว แผ่น ดิน หนัก สิบ ชั่ง, เท่า กัน กับ น้ำ ฦก ได้ ห้า วา กับ ๗ นิ้ว. ถ้า จะ เอา ท่อ สูง หก วา ให้ ต้น ข้าง หนึ่ง, ให้ เตม ดว้ย น้ำ แล้ว กลับ ท่อ นั้น ลง ใน ชาม, น้ำ ใน ท่อ นั่น ก็ จะ ทรุด ลง คง อยู่ แต่ ห้า วา กับ เจด นิ้ว เท่า นั้น, ไม่ ได้ ทรุด ลง อีก เลย. เปน ทั้ง นี้ เพราะ ลม อากาษ ได้ ดัน น้ำ ที่ ปาก ท่อ นั้น ไว้, นิ้ว แล นิ้ว หนัก สิบ ชั่ง, เหมือน ที่ ว่า มา แล้ว นั้น. คน ทั้ง ปวง ได้ รู้ ดั่ง นั้น แล้ว, จึ่ง ทำ เปน สูบ น้ำ. สูบ นั้น มี หลาย อย่าง ต่าง ๆ กัน, คือ สูบ น้ำ, แล สูบ ลม, แต่ ทว่า ได้ ทำ ตาม วิชา ลม อากาษ ที่ ว่า มา แล้ว นั้น. แล เครื่อง สูบ น้ำ อย่าง หนึ่ง ที่ จะ ทำ ได้ ง่าย, ที่ คน ได้ ใช้ มาก นั้น เขา ทำ อย่าง นี้, ให้ ทำ เปน ท่อ เลก ใหญ่ ตาม ใจ มิ ได้ กำหนฏ, ริม ปาก ท่อ ข้าง ใน ที่ จะ จุม ลง ใน น้ำ นั้น, ให้ มี ประตู ลม เปิด ขึ้น แล ปิด ลง ได้, ที่ ลูก สูบ นั้น ก็ ทำ ให้ มี ประตู ลม เปิด ขึ้น แล ปิด ลง เหมือน กัน, เอา ท่อ สูบ นั้น จุม ลง ใน น้ำ นอ่ย หนึ่ง. ถ้า ชัก ลูก สูบ ขึ้น เพียง ใด, น้ำ ก็ จะ เข้า ตาม ช่อง ประตู ข้าง ล่าง เพียง เสมอ ลูก สูบ เท่า นั้น, แล น้ำ เข้า ไป ใน สูบ นั้น เพราะ ไม่ มี ลม อยู่ ข้าง ใน, ลม อากาษ จึ่ง ดัน น้ำ ข้าง นอก ท่อ, ให้ ดัน ประตู สูบ เข้า ไป ได้. ถ้า กด ลูก สูบ ลง ไป น้ำ ก็ ไม่ ออก ได้, เพราะ ดัน ประตู ข้าง ล่าง ให้ ปิด ไว้, น้ำ จะ ดัน ขึ้น ให้ ประตู ที่ ลูก สูบ นั้น เปิด ออก, แล ชัก ลูก สูบ ขึ้น อีก ที หนึ่ง, น้ำ ก็ จะ ไหล ออก ตาม ท่อ ข้าง บน, ตั้ง แต่ นั้น น้ำ จะ ไหล ออก ทุก ที ชัก ลูก สูบ มิ ได้ ขาด. เครื่อง สูบ น้ำ อย่าง นี้ เขา ได้ ใช้ มาก, ได้ สูบ น้ำ ให้ ออก จาก ทอ้ง กำปั่น บ้าง, ได้ สูบ น้ำ ใน บ่อ, แล ใน แม่ น้ำ ให้ ขึ้น บน เรือน บ้าง. เขา ได้ ใช้ ใน กำปั่น นั้น สอง สูบ ให้ พร้อม กัน บ้าง, ลาง ลำ ก็ ใช้ สูบ สี่ ใบ บ้าง ให้ ไป พร้อม กัน. แล ประตู ช่อง ลม ใน สูบ ข้าง ล่าง นั้น, ให้ สูง กว่า น้ำ ห้า ศอก หก ศอก ก็ ได้, ถ้า ประตู นั้น สูง กว่า ห้า วา กับ เจด นิ้ว, ถึง จะ ชัก สูบ สัก เท่า ใด ๆ, น้ำ ก็ มิ ได้ ขึ้น เลย, เพราะ กำลัง ลม ข้าง ใน กับ ข้าง นอก ดัน ไว้ เท่า กัน. อีก ประการ หนึ่ง ประตู ลูก สูบ นั้น อย่า ให้ มี รู สัก หนิด หนึ่ง เลย, ถ้า มี รู ประมาณ เท่า ช่อง เขม, ลม จะ เข้า ไป ข้าง ใน ได้, จะ ชัก น้ำ ไม่ ขึ้น เลย.

สูบ น้ำ อีก อย่าง หนึ่ง, ก็ ทำ เหมือน กัน กับ สูบ ที่ ว่า มา แล้ว, ผิด กัน แต่ ไม่ มี ประตู ช่อง ลม ที่ ลูก สูบ, แต่ ประตู ที่ สูบ ข้าง ล่าง นั้น มี เหมือน กัน. แต่ ทว่า มี ท่อ เลก ที่ น้ำ จะ พุ ออก นั้น, ทำ ให้ ต่ำ ลง มา ให้ เหนือ ประตู นอ่ย หนึ่ง. เมื่อ ชัก ลูก สูบ ขึ้น, ประตู จะ เปิด, น้ำ จะ เข้า ใน สูบ, เมื่อ กด ลง น้ำ จะ ดัน ประตู ให้ เปิด, แล้ว น้ำ จะ พุ ออก ตาม ท่อ เลก นั้น. ท่อ อย่าง นี้ สำหรับ เขา รด ต้น ดอก ไม้, ภ้า จะ ให้ น้ำ โปรย ออก ไป ไกล, ก็ ตอ้ง กด ลูก สูบ ลง ให้ แรง ตาม ปราถนา จะ ให้ ใก้ล แล ไกล. แล เครื่อง สูบ นี้ เมื่อ ชัก ลูก สูบ ขึ้น ก็ อยุด มิ ได้ พุ ออก, เมื่อ กด ลง น้ำ จึ่ง พุ ออก ได้ ทุก ที. จะ ว่า ถึง สูบ น้ำ อีก อย่าง หนึ่ง, กระทำ เหมือน กัน กับ สูบ ที่ ว่า มา ใน ที่ สอง ต่าง กัน แต่ อย่าง ใหม่ ที่ ว่า นี้ มี หีบ ลม ดว้ย, จึ่ง ทำ ให้ ท่อ เลก ที่ น้ำ จะ พุ ออก นั้น เข้า ไป ใน หีบ ลม, แล ให้ มี ประตู ปิด เปิด ได้ ที่ ปลาย ท่อ เลก ที่ อยู่ ใน หีบ ลม นั้น ดว้ย. แล้ว จึ่ง ให้ มี ท่อ เลก ๆ อีก อัน หนึ่ง, ให้ อยั่ง ลง มา กลาง หีบ ลม นั้น, ให้ สูง พ้น พื้น ก้น หีบ ลม สอง นิ้ว สาม นี้ว ก็ ได้, แต่ ปลาย ท่อ นั้น ให้ สูง กว่า หีบ ลม ขึ้น ไป สอง ศอก สาม ศอก ก็ ได้, ให้ ขึ้น ไป เหมือน กัน กับ ลูก สูบ นั้น. เมื่อ ชัก ลูก สูบ ขึ้น จะ ดูด น้ำ เข้า ตาม ช่อง ประตู ให้ น้ำ เข้า ไป ใน สูบ, เมื่อ กด ลง ประตู สูบ น้ำ จะ ปิด, ประตู ที่ อยู่ ปลาย ท่อ เลก ที่ อยู่ ใน หีบ ลม จะ เปิด, น้ำ จะ เข้า ใน หีบ ลม ทั้ง หมด. เมื่อ ชัก ลูก สูบ ขึ้น อีก, น้ำ ใน หีบ ลม นั้น จะ ดัน ประตู ที่ ปลาย ท่อ เลก นั้น ให้ ปิด, น้ำ จะ กลับ ไป ใน สูบ นั้น ไม่ ได้, น้ำ ข้าง นอก จะ เข้า ใน สูบ ได้, เพราะ ชัก ลูก สูบ ขึ้น ประตู สูบ นั้น เปิด. เมื่อ กด ลูก สูบ ลง อีก, น้า จะ เข้า ไป ใน หีบ ลม อีก, จะ อัด ลม อยู่ ข้าง ใน ลม จะ ออก ไม่ ได้, เพราะ น้ำ ถว้ม ปลาย ท่อ ข้าง ล่าง ที่ อยั่ง ลง ใน หีบ ลม นั้น. เมื่อ ชัก ลูก สูบ ขึ้น, แล กด ลง หลาย ที, ก็ ยิ่ง อัด ลม ใน หีบ นั้น นัก, ลม จะ ดัน น้ำ ให้ ขึ้น ตาม ท่อ ใน หีบ ลม ที่ ออก ข้าง บน แรง ยิ่ง นัก, น้ำ จะ พุ่ง ออก ทุก ที ชัก ลูก สูบ แล กด ลง มิ ได้ อยุด เลย. เครื่อง สูบ น้ำ นี้, ก็ เปน เครื่อง สำหรับ ดับ ไฟ. แล ที่ สุด ปลาย สูบ น้ำ นั้น, เขา ให้ มี ท่อ ทำ ดว้ย หนัง สัตว, ต่อ ติด ไป จะ ให้ ไกล ห้า เส้น หก เส้น ก็ ได้, ให้ ปลาย ท่อ หนัง นั้น ลง ใน บ่อ ก็ ได้, ใน แม่น้ำ ก็ ได้, ยัง สูบ น้ำ อีก หลาย อย่าง, ก็ กระทำ ตาม วิชา นี้ ทั้ง หมด.

แล เดือน ข้าง หน้า, เรา จึ่ง จะ ว่า ภึง เครื่อง สำหรับ กำหนฏ จะ ให้ รู้ ว่า ลม ออ่น แล ลม ก้ลา, ที่ พ่อ ค้า ได้ ใช้ ใน กำปั่น, อังฤษ เรียก ชื่อ ว่า, บรัมอิเตอ อย่าง หนึ่ง, สิน สัมอิเตอ อย่าง หนึ่ง.

Smallpox and Cholera in Calcutta.

ข่าว ว่า ปี มะโรง มี ฝีดาษ ใน เมือง กาลกัตตา นั้น ร้าย นัก, เดือน ๔ เดือน ๕ มี คน ตาย มาก นัก. แล เมื่อ ฝีดาษ นั้น คลาย แล้ว, ก็ บังเกิด เจบ ลง ราก, คน ตาย ดว้ย ลง ราก นั้น มาก หนัก หนา. หนังสือ ข่าว ว่า คน ทั้ง ปวง มี ใจ เภิก เฉย เสีย, มิ ได้ ปลูก ฝี โค, คน จึ่ง ตาย มาก. เมื่อ ยัง ไม่ มี ฝีดาษ เขา ไม่ ได้ ปลูก ฝี โค ให้ ลูก, ดว้ย คน ทั้ง ปวง นั้น คิด ว่า จะ คอ่ย ๆ ปลูก ต่อ ภาย หลัง. แล้ว เมื่อ ฝีดาษ มา บังเกิด ขึ้น, เขา ก็ ปลูก ฝี โค ไม่ ใค่ร ทัน. ถ้า ท่าน ปราถนา จะ ไม่ ให้ ฝีดาษ บังเกิด แก่ ลูก, จง ภา ลูก มา ปลูก ฝี โค ให้ กัน ฝีดาษ เสีย เถิด. อย่า ผัด ไป เลย, กลัว จะ ปลูก ไม่ ทัน.

Lord Ellenborough Recalled.

ข่าว ว่า กระษัตร อังกฦษ ถอด เจ้า เมือง อินเดีย, ผู้ ชื่อ เอเลนบะ ไรเสีย, ให้ กลับ ไป เมือง อังกฤษ. เปน เหตุ อย่าง ไร หนังสือ ข่าว ไม่ ว่า, แต่ คน ทั้ง ปวง สังเกด ว่า, เจ้า เมือง อินเดีย นั้น จอง หอง นัก, จึ่ง ตอ้ง ถอด เสีย. มี คน หนึ่ง ชื่อ ฮาดินเชร ตั้ง เปน เจ้า เมือง แทน. ฮา ดินเชร นั้น แต่ กอ่น เปน นาย ทัพย์ เปน คน ก้ลา หาร นัก. แต่ กอ่น, เมื่อ โบเนปาด เปน กระษัตร ใน เมือง ฝรั่งเสศ , ฮาดินเชร ได้ รบ กับ ทหาร ฝรั่งเสศ, เสีย แฃน ข้าง หนึ่ง. เพราะ เสีย แฃน ข้าง หนึ่ง กระ ษัตร อังกฤษ จึ่ง พูน บำเหนจ์ ให้ เขา ปี ละ สอง พัน สี่ รอ้ย บาท ทุก ปี ๆ. ฮาดินเชร ออก มา จาก เมือง อังกฤษ เดือน เจด แรม เจด ค่ำ, มา ถึง เมือง กาลกัตตา เดือน แปด ทุติยาสาตร์ ขึ้น เก้า ค่ำ. ตั้ง แต่ ออก จาก เมือง อังกฤษ มา ถึง เมือง กาลกัตตา เปน แต่ สี่ สิบ เจด วัน.

Robberies in Penang.

มี หนังลือ ข่าว ตีภิม ใน เมือง เกาะ หมาก นั้น เดือน หก ขึ้น ลี่ ค่า, ว่า ใน หก เดือน ที่ ลวง ไป กอ่น ตีภิม นั้น, ใน เมือง เกาะ หมาก มี คน ปล้น เปน อัน มาก. คน พวก ปล้น นั้น เข้า ไป สวน จัน เทษ, ทุบ ตี คน เฝ้า สวน ให้ ตาย บ้าง มิ ตาย บ้าง, แล้ว เกบ เอา ลูก จัน เทษ ไป. ลาง ที ก็ เกบ เอา หลาย พัน ลูก ใน คืน เดียว.

Aged people in Russia.

ใน เมือง รูเซีย นั้น เคย มี คน มาก เปน คน มี อายุศม์ ยืน. แล มี สี่ ร้อย หก สิบ เก้า คน, มี อายุศม์ กว่า รอ้ย, ตาม เมื่อ ปี ชวด. ใน สี่ รอ้ย หก สิบ เก้า คน นั้น มี สอง รอ้ย สาม สิบ หก คน มี อายุศม์ ถึง รอ้ย กับ ห้า ปี, มี อีก รอ้ย แปด คน มี อายุศม์ ถึง รอ้ย กับ สิบ ปี, มี อีก ห้า สิบ เก้า คน มี อายุศม์ ได้ ถึง รอ้ย กับ สิบ สอง ปี, มี อีก สี่ สิบ ห้า คน มี อายุศม์ ได้ ถึง รอ้ย ยี่ สิบ ปี, แล มี อีก สอง คน มี อายุศม์ ได้ ถึง รอ้ย กับ สี่ สิบ ห้า ปี. คน เหล่า นี้ ตาย ใน ปี ชวด สิ้น ทั้ง นั้น.

Toleration in Turkey.

สาศนา เมือง ตุระเกีย นั้น คือ สาศนา มะหะมัศ. แต่ กอ่น ใน เมือง ตุระเกีย นั้น, เปน ทำเนียม ถ้า ผู้ ใด ทิ้ง เสีย ซึ่ง สาศนา มะหะมัศ นั้น เจ้า เมือง ก็ ฆ่า เสีย. เมือ สอง สาม ปี ส่วง ไป แล้ว มี คน หนึ่ง ละ เสีย ซึ่ง สาศนา มะหะมัศ นั้น, เขา ได้ ฆ่า เสีย แล้ว ตาม กฎหมาย. แต่ เมื่อ คน นั้น ตาย แล้ว, ทูต เมือง อังกฤษ กับ ทูต เมือง ฝรั่งเศศ, สอง คน นั้น ไป ฃอ แก่ เจ้า เมือง ตุระเกีย นั้น, ให้ เลิก ทำเนียม นั้น เสีย. แล หนังสือ ข่าว ที่ เข้า มา ใหม่ นั้น ว่า, เจ้า เมือง ตุระเกีย นั้น ยอม ให้, ว่า ตั้ง แต่ นี้ ไป, ภึง จะ ละ เสีย ซึ่ง สาศนา มะหะมัศ, เรา ก็ มิ ได้ ฆ่า เสีย เลย.

Connecticut Clocks.

ประเทษ ยูในติษเทษ นั้น, มี เมือง หนึ่ง ชื่อ กะเนติกัด ที่ เขา ทำ นารกา มาก, ทำ ดว้ย ไม้ บ้าง, ดว้ย ทอง เหลือง บ้าง. ใน ปี ฃาน เขา ทำ ดว้ย ไม้ ได้ ๕ แสน ใบ. ใน เมือง กะเนติกัด นั้น มี หวัว เมือง แห่ง หนึ่ง ที่ เขา เคย ทำ นารกา ไม้ วัน ละ พัน ใบ ทุก วัน ๆ.

ข่าว ว่า เจ้า เมือง ฝรั่งเศศ นั้น ตั้ง พระไทย ว่า จะ ให้ ปล่อย ซึ่ง ทาษ ที่ มี อยู่ ใน เมือง ที่ เปน เมือง ขึ้น แก่ ฝรั่งเศศ นั้น, ไม่ ให้ มี ทาษ ต่อ ไป อีก เลย, ให้ มี แต่ ลูก จ้าง เท่า นั้น.

ข่าว เมือง นอก ว่า, กระษัตร เมือง รูเซีย ไป เยี่ยม กระษัตร เมือง อังกฤษ, ถึง เมือง ลันดัน ซึ่ง เปน เมือง หลวง เดือน เจด แรม สอง ค่ำ, อยู่ ใน เมือง นั้น ศัก สิบ วัน แล้ว กลับ ไป เมือง รูเซีย. ๏ ข่าว ว่า ใน เมือง ทวาย นั้น, มี คน ศัก สาม หมื่น ห้า พัน เจด รอ้ย สิบ สอง คน.

มี ข่าว มา แต่ เมือง กาลกัดตา, ว่า เจ้า เมือง อังวะ ซื้อ กำปั่น ไฟ ลำ หนึ่ง, เท่า กับ กำปัน ไฟ ที่ มา เมือง นี้. บัด นี้ กำปั่น นั้น แล่น ขึ้น ไป ถึง เมือง อังวะ แล้ว.

คำสุภาสิต. A PROVERB.

มี คำ สุภาสิต ว่า, เมื่อ ท่าน จะ ให้ ทาน, ที่ มือ ขวา ให้ นั้น, ก็ อย่า ให้ มือ ทร้าย รู้. แปล ว่า, ถ้า ท่าน จะ ให้ ทาน, ก็ ให้ ดว้ย ใจ บริสุทธิ แท้. อย่า ให้ ดว้ย คิด ว่า จะ เอา หน้า, จะ ให้ ชื่อ ของ ตน ฦๅ ชา ปรากฏ. อนึ่ง คือ อย่า เหน แก่ หน้า เหน แก่ บุทคล. ถ้า ทำ เช่น นั้น ก็ ไม่ เปน ทาน เลย.


ตำรา รักษา แผล ต่อ ไป. Treatment of Ulcers.

ถ้า เหน แผล โลหิต กับ น้ำ เหลือง ปน กัน อยู่, ก็ พึง รู้ ว่า แผล นั้น รอ้น อยู่ เพราะ โลหิต มา รวม กัน คั่ง อยู่ ที่ ตรง แผล นั้น. เนื้อ นั้น จึ่ง เน่า เรว ดว้ย รอ้น. ปาก แผล โดย รอบ นั้น, แดง มาก ขัก ให้ เสกด ดำ ไป. แผล พัน นี้ ตอ้ง พอก เข้า ต้ม เสีย กอ่น, เข้า ต้ม นั้น เคี่ยว ให้ เปื่อย เกือบ เปน บอระมาร, พอก วัน ละ สาม หน, กิน ดี เกลือ หมั่น ถ่าย ให้ บอ่ย ๆ. รักษา อย่าง นี้ ให้ เหน เนื้อ แดง ขึ้น เปน ลูก มะระ แล้ว, จึ่ง เอา ขี้ผึ้ง ใน จด หมาย เหตุ ใบ สาม รักษา ไป เถิด.

แผล อีก อย่าง หนึ่ง, พอง ขึ้น เปน หนอง, แล้ว ก็ เปื่อย ออก ไป, ปาก แผล โดย รอบ นั้น, ชัก ดำ เข้า ขอบ แผล ฃ้าง นอก นั้น ก็ ไม่ สู้ บวม ไม่ สู้ แดง, แผล เช่น ว่า มา นี้, เหตุ ดว้ย เนื้อ ตรง แผล นั้น ตาย เสีย ไป แล้ว, ให้ เนื้อ นั้น เอย๊น มาก, จึ่ง ชัก ให้ ปาก แผล นั้น ดำ ไป. มัก ให้ ตัว รอ้น เทพ จร กำเริบ. ถ้า จะ รักษา ก็ เอา ยา ที่ สำ เรา ไม่ สู้ รอ้น ไม่ สู้ เอย๊น ให้ กิน ให้ เดิน ๆ ไว้, แล้ว จึ่ง ให้ กิน ยา ขาว ที่ อังกฤษ เรียก ว่า คีนีล นั้น, ให้ กิน หนัก เท่า เมด เข้า เปลือก ที่ ได้ ขนาด วัน ละ สี่ หน. ถ้า ไม่ ให้ กิน ยา คีนีล, ก็ ให้ กิน ยา แดง ผง ที่ มา แต่ เมือง อเมริกา ชื่อ ซินคนา, ต้ม น้ำ กิน ก็ ได้ เหมือน กัน. ถ้า ไม่ มี ยา สอง ขนาน นี้ กิน แล้ว, ก็ ให้. อาการะบูรร์ หนัก หุน หนึ่ง, น้ำ ประสาร ดี บุก หุน หนึ่ง, ปูน ขาว หุน หนึ่ง, บด กิน วัน ละ ๒ หน ๓ หน. รักษา อย่าง นี้ เพื่อ จะ ให้ เนื้อ นั้น กลับ เปน ปรกติ ขึ้น. ถ้า เหน ว่า ตัว รอ้น หนัก, ก็ ให้ กิน ดิน ประสิว ขาว ที่ สอาษ ทำ ผง ลลาย น้ำ เข้า เชด มื้อ ละ ๒ หน กิน วัน ละ ๔ หน ๕ หน. ยา นี้ กิน ให้ ตัว เอย๊น, ให้ เทพ จร หย่อน ลง. ถ้า เหน ตัว เอย๊น แล้ว, จึ่ง ให้ กิน ยา ขาว ยา แดง ๒ ขนาน นั้น ตาม แต่ จะ ให้ กิน ขนาน หนึ่ง เถิด. ถ้า จะ ฌะ แผล ก็ ให้ เอา น้ำ กรด ดิน ประสิว ๕๐ อยด, น้ำ ท่า ทนาน หนึ่ง. ถ้า น้ำ กรด ไม่ มี, ก็ ให้ เอา ดิน ประสิว ขาว หนัก สลึง, ลลาย น้ำ ครึ่ง ทนาน, ทำ น้ำ ฌะ ดี แล. น้ำ ฌะ อย่าง หนี่ง, เอา น้ำ กรด กำมะถัน ๗๐ อยด, น้ำ ท่า ครึ่ง ทนาน เปน น้ำ ฌะ. ถ้า ไม่ มี แล้ว ก็ เอา น้ำ ดิน ประสิว ฌะ ไป ตาม ที่ ว่า มา นั้น เถิด.

แผล อย่าง หนึ่ง, ที่ ปาก แผล เล๊ก แต่ ฃ้าง ใน นั้น กิน พลอน ใป. ลาง ที กัด ฦก เปน ขุม ลง ไป, ถ้า แผล นั้น กิน ชอน เข้า ไป ฦก แล้ว, เอา กระบอก ฉิด ใส่ น้ำ ท่า ฉิด ล้าง เสีย กอ่น, แล้ว เอา จุลษรี ลลาย น้ำ ลง ภอ ศรี น้ำ เฃียว ๆ ออ่น ๆ, แล้ว ใส่ กระบอก ฉิด เข้า ไป, ให้ กัด ชำระ ฝ้า แล หนอง, แล น้ำ เหลือง เสีย แล้ว. จึ่ง เอา น้ำ ฌะ เช่น ว่า มา นั้น, ฉิด ล้าง น้ำ จุลษรี เสีย อีก ครั้ง หนึ่ง. ถ้า เหน หนอง ยัง ติด ค้าง อยู่ บ้าง, ก็ ให้ เอา ผ้า ภับ เข้า ให้ หลาย ชั้น, กด ลง ที่ ริม แผล รีด หนอง, ให้ ออก เสีย ให้ หมด. แล้ว เอา ผ้า รัด แผล ไว้, เอา สำลี ปิด ปาก แผล เสีย. รักษา อย่าง นี้, เนื้อ งอก ติด กัน ออก มา แต่ ฃ้าง ใน กอ่น, เพราะ รัด ไว้ ไม่ ให้ หนอง ค้าง อยู่ ได้ หาย เรว. ถ้า เปน แผล ปาก แผล นั้น เลก, แต่ กิน ชอน เข้า ไป ไม่ สู้ ฦก นัก, ก็ เอา มีด สอด เข้า ไป ตาม แผล ที่ ชอน นั้น. ตัด เนื้อ ที่ อม หนอง นั้น ออก เสีย, ให้ ปาก แผล กว้าง แล้ว, ฉิด น้ำ จุลษรี ขำระ เสีย กอ่น, จึ่ง เอา สำลี ใส คา ปาก แผล ไว้ อย่า ให้ ชิด กัน เข้า ได้. กระทำ ดั่ง นี้, เพราะ จะ ให้ เนื้อ แดง นั้น งอก แต่ ข้าง ใน ออก มา, จน เตม ปาก แผล, แต่ ให้ เปลี่ยน สำลี วัน ละ สอง หน.

ถ้า เปน ฝี ปะคำ รอ้ย แล้ว, แต่ ภอ แล เหน เงา หนอง ขึ้น มา, ก็ ให้ เอา มีด ที่ ปลาย แหลม แทง ตรง หนอง เสีย, ให้ ปาก แผล กว้าง, หนอง ไหล คล่อง แล้ว, ฉิด น้ำ จุลษรี ก็ ได้, น้ำ ดิน ประสิว ก็ ได้, ยิ่ง ได้ น้ำ กรด ยิ่ง ดี. แล้ว เอา สำลี บิด ให้ แน่น, ทำ เปน หมุด ใส่ ไว้ ให้ ดูด หนอง, แล น้ำ เหลือง, อย่า ให้ ปาก แผล ติด กัน เข้า ได้, ให้ เอา ขี้ผึ้ง เข้า น้ำมัน ดิน หนัก ๓ ส่วน, ใน จด หมาย เหตุ ใบ ที่ หนึ่ง นั้น, ทา กระดาด หนัง แล ผ้า ขาว บาง ปิด ไว้ ถ้า จะ รักษา ฝี ปะคำ รอ้ย, ที่ เปน มา นาน แล้ว, ถ้า เหน หนอง นั้น, กัด หนัง ตาม ปาก แผล นั้น, ชอน บาง ไป ก็ ให้ เอา มีด ผ่า เสีย, ให้ แผล กว้าง ออก ไว้, อย่า ให้ ติด กัน ได้, จะ อม หนอง เสีย. แล้ว ขำระ ดว้ย น้ำ ฌะ เสีย กอ่น, แล้ว เอา ขี้ผึ้ง นั้น ปิด ไป. ให้ เปลี่ยน ขี้ผึ้ง ออก ฌะ แผล เสีย, วัน ละ สอง หน, เปลี่ยน ขี้ผึ้ง ก็ สอง หน เหมือน กัน. ให้ กิน ยา ภาย ใน ดว้ย, เอา โกฏ น้ำ เต้า หุน หนึ่ง, ยา ดำ หุน หนึ่ง, บด กิน ทุก วัน, วัน ละ มื้อ. อีก ขนาน หนึ่ง เรียก ว่า ใอโอคีน, เปน ยา รักษา ฝี ปะ คำ รอ้ย, แล โรค อื่น หลาย อย่าง มี คุณ นัก ให้ กิน ให้ ทา ทุก วัน.

การปลูกฝี โค. ยัง จำเริญอยู่. VACCINATION PROSPEROUS.

ทุก วัน นี้ พวก หมอ อเมริกา ปลูก ฝี โค กัน ฝีดาษ ได้ ง่าย ดาย คล่อง นัก. แต่ ใน เดือน ๘ เดือน ๙ ปลูก เปน ส่วน ๑, ไม่ เปน ๒ ส่วน, เปน เหตุ เพราะ ทอ้ง อากาษ เปน เมฆ หมอก มัว อยู่ มาก ไม่ ผ่อง ไส. บัด นี้ พื้น อากาษ นั้น ผอ่ง แผ้ว เกือบ จะ สิ้น เมฆ หมอก เพราะ ฝน ตก ลง มา หลาย ครั้ง, ขำระ หมอก มัว นั้น บริสุทธิ แล้ว, จึ่ง ปลูก เปน ง่าย. ตั้ง แต่ ต้น เดือน แปด ทุติยาสาท, ได้ ปลูก ฝี ให้ นับ ได้ คน ประมาณ ๕๐๐, แต่ ติด ดี เปน ฝี โค แท้ นั้น ประมาณ ๒๐๐, คน นอก นั้น ไม่ เปน, มา ฃน เดือน สิบ ข้าง ขึ้น จน ตก แรม มา ปลูก ๑๐ คน, ไม่ เปน ศัก สอง คน, เปน มาก กว่า ไม่ เปน ศัก ๘ ส่วน. ตั้ง แต่ นี้ ไป เปน เวลา ฤกฃ์ ดี, เชิญ ท่าน ทั้ง หลาย ที่ มี ลูก หลาน บ่าว ไพ่ร ภา กัน มา ปลูก เสีย เถิด, อย่า นิ่ง นอน ใจ อยู่ เลย. เรา จะ ปลูก บ้าน หมอ บ้าน บน, วัน จันทร์ เพลา ข้าว ทุก วัน จันทร์. หมอ พวก เรา ที่ บ้าน ล่าง, ก็ จะ ปลูก ให้ วัน จันทร์ เพลา ข้าว ทุก วัน จันทร์ เหมือน กัน. เพลา บ่าย วัน ประหัศ นั้น จะ ไป ปลูก ที่ ตึก หน้า วัด สาม ปลื้ม, ที่ หน้า วัด เกาะ นั้น ก็ ทุก วัน ประหัศ เหมือน กัน. หมอ นาค ลูก สิษ เรา ก็ จะ ไป ปลูก ที่ บ้าน ฝรั่ง วัด สมอ ราย ทุก วัน เสาร์. ผู้ ใด ได้ อ่าน หนังสือ นี้ แล้ว ฃอ ให้ ป่าว รอ้ง, ให้ รู้ ทั่ว ๆ กัน เถิด.

จักขุ ต้อ กระจก. To The Blind From Cataract.

หมอ บรัดเล อวย พร มา ถึง ท่าน ทั้ง หลาย, ที่ เปน โรค จักขุ เปน ต้อ กระจก นั้น. ให้ เชิญ มา หา ข้าพเจ้า เถิด, จะ รักษา ให้, ดว้ย ได้ เคย รักษา หาย เปน หลาย สิบ คน แล้ว. แต่ คน ที่ มี จักขุ บอด มืด ที เดียว เรา ก็ ได้ รักษา หาย, จน เหน เปน ปรกติ นั้น มาก, ที่ เรา รักษา หาย นั้น ประมาณ ๓ ส่วน, ที่ ไม่ หาย นั้น ศัก ส่วน ๑, ที่ รักษา ไม หาย นั้น ก็ ไม่ มี อัน ตราย, เปน เสมอ โรค เดิม อยู่ ยัง นั้น. อนึ่ง ท่าน ทั้ง ปวง ที่ เปน ต้อ อย่า คิด กลัว ว่า วิที ที่ หมอ รักษา นั้น, จะ ทำ ให้ เจบ ปวด หนัก นั้น หา มิ ได้, เจบ แปลบ เดียว เท่า นั้น ดอก, ภอ ทน ได้, เชิญ มา เถิด, เรา ไม่ เอา วัถุ สิ่ง ใด เลย, ปราถนา จะ ทำ คุณ แก่ ท่าน ทั้ง ปวง เท่า นั้น แล.

ราคา สินค้า เมือง ใหม่, คิด เหรียน หนึ่ง เปน เงิน ไท หก สลึง เพื้อง สอง หุน.

Price Current บาด เฟื้อง บาด เฟื้อง
แผ่น ทอง แดง แล ตะบู่ ทอง แดง หาบ ละ ๕๐ ๕๓
ผ้า ใบ พับ ละ ๑๓ ๑๕
ขี้ผึ้ง หาบ ละ ๕๐ ๕๓
กำญาน อยา่ง กลาง หาบ ละ ๕๘ ๖๑
หมาก แห้ง หาบ ละ
เข้า แฟ มา แต่ ยะกะตรา หาบ ละ ๑๔
ฝ้าย ดี ห่อ หนัก สอง หาบ ยี่ สิบ สี่ ชั่ง ห่อ ละ ๒๕ ๒๖
ฝ้้าย อื้น มา แต่ บำเบ ห่อ ละ ๑๓ ๒๖
งา ช้าง ใหญ่ หาบ ละ ๑๖๗ ๑๘๓
งา ช้าง เลก หาบ ละ ๑๐๐ ๑๓๓
หนัง ควาย ดี หาบ ละ
คราม ไท หาบ ละ
น้ำมัน มะพร้าว ไท หาบ ละ ๑๐
พริก ไท หาบ ละ
พริก ลอ่น หาบ ละ ๑๔
พริก เทด หาบ ละ
เข้าสาร ดี เกียน หนึ่ง หนัก ๔๐ หาบ เกี่ยน ละ ๑๐๘
น้ำตาน ซาย เมือง ไท หาบ ละ
เกลือ เมือง ไท เกี่ยน ละ ๓๖
ฝาง เมือง ไท หาบ ละ
ครั่ง เมือง ไท หาบ ละ ๑๑
ตะกั่ว เกรียบ หาบ ละ ๒๕ ๒๗
รง หาบ ละ ๑๑๗
ด้าย ดิบ หาบ ละ ๓๐ ๕๕

หนังสือ ฃ่าว นี้ ตีภิม หน้า วัด เจ้าคุณ พระคลัง, ที่ บ้าน พวก ครู อเมริกา อาไศรย. ตี เดือน ละ แผ่น, คือ ปี หนึ่ง สิบ สอง แผ่น. ราคา, ถ้า ซื้อ เปน ปี, ก็ เปน บาท หนึ่ง. ถ้า ซื้อ เปน แผ่น, ก็ เปน แผ่น ละ เฟื้อง.

The Recorder is published on the first Thursday of every month at the press of the mission of the A. B. C. F. M. in Siam. Price, one tical, or sixty cents, a year.